การป้องกันกำจัดโรคเน่าสีน้ำตาลของเห็ดนางรมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Pseudomonas
#1
การป้องกันกำจัดโรคเน่าสีน้ำตาลของเห็ดนางรมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม Pseudomonas
สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ และณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทดสอบประสิทธิภาพของสารไคโตซาน ซีโอไลท์ น้ำส้มควันไม้ และคาซูกามายซิน ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเน่าสีน้ำตาลของเห็ดนางรมในห้องปฏิบัติการโดยทดสอบที่ความเข้มข้น 0, 0.1, 0.5, 1.0, 2.0, 3.0, 5.0, 10.0, 15.0 และ 20.0 เปอร์เซ็นต์ ผลการทดลองพบว่า ไคโตซานที่ความเข้มข้น 15.0 และ 20.0 เปอร์เซ็นต์ ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 0.56 และ 20.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซีโอไลท์ที่ความเข้มข้น 10.0, 15.0 และ 20.0 เปอร์เซ็นต์ ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 0.56, 0.56 และ 1.64 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ น้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.5 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย คือ ที่ความเข้มข้น 0.5, 1.0, 2.0, 3.0, 5.0 และ 10.0 เปอร์เซ็นต์ ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 6.56, 20.16, 60.28, 70.16, 78.36 และ 78.36 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนที่ความเข้มข้น 15.0 และ 20.0 เปอร์เซ็นต์ ยับยั้งเชื้อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และคาซูกามายซินที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 0.1 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย คือ ที่ความเข้มข้น 0.1, 0.5, 1.0, 2.0, 3.0 และ 5.0 เปอร์เซ็นต์ ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ 6.56, 70.16, 78.36, 90.16, 90.16 และ 98.36 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนที่ความเข้มข้น 10.0, 15.0 และ 20.0 เปอร์เซ็นต์ ยับยั้งเชื้อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทดสอบผลของสารทดสอบต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดนางรมพบว่า น้ำส้มควันไม้ และคาซูกามายซิน ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 3.0 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป มีผลทำให้ปลายเส้นใยของเห็ดนางรมเจริญไม่ปกติ และทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคเน่าสีน้ำตาลของเห็ดนางรมในโรงเรือนเพาะเห็ดเบื้องต้นพบว่า คาซูกามายซิน และน้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 1.0 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป สามารถควบคุมการเกิดโรคได้ คือ คาซูกามายซินที่ความเข้มข้น 1.0, 3.0, 5.0 และ 10.0 เปอร์เซ็นต์ พบการเกิดโรคเน่าสีน้ำตาล 60.0, 50.0, 58.0 และ 40.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่าพบการเกิดโรค 67.0 เปอร์เซ็นต์ และน้ำส้มควันไม้ที่ความเข้มข้น 1.0, 3.0, 5.0 และ 10.0 เปอร์เซ็นต์ พบการเกิดโรคเน่าสีน้ำตาล 50.0, 48.0, 40.0 และ 40.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่าพบการเกิดโรค 65.0 เปอร์เซ็นต์ สารไคโตซาน และซีโอไลท์ทุกความเข้มข้นที่ทดสอบไม่สามารถควบคุมการเกิดโรคได้


ไฟล์แนบ
.pdf   1308_2552.pdf (ขนาด: 184.12 KB / ดาวน์โหลด: 542)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม