การจัดการโรคเหี่ยวของปทุมมาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum
#1
การจัดการโรคเหี่ยวของปทุมมาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum
ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, เยาวภา ตันติวานิช, วิภาดา ทองทักษิณ และสุธามาศ ณ น่าน
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

          การจัดการโรคเหี่ยวของปทุมมาที่เกิดจากแบคทีเรีย R. solanacearum โดยทำการตรวจหาปริมาณของแบคทีเรีย R. solanacearum สาเหตุโรคเหี่ยวของปทุมมาในแปลงปลูกก่อนการทดลองพบปริมาณแบคทีเรีย R. solanacearum 1.5 x 10(4) cfu/ดิน 1 กรัม หลังจากที่มีการจัดการดินก่อนปลูกพืชพบว่า กรรมวิธีที่ 1 และกรรมวิธีที่ 4 มีการจัดการดินก่อนปลูก โดยใช้ยูเรียและปูนขาวในอัตราส่วน 80 : 800 กิโลกรมต่อไร่ ปริมาณของแบคทีเรีย R. solanacearum ลดลงจนไม่สามารถตรวจพบ ในขณะที่กรรมวิธีที่ 1 และกรรมวิธีที่ 5 มีการจัดการดินโดยใช้ผงคลอรีน ปริมาณของเชื้อลดลงเหลือเพียง 1.0 x 10(2) cfu/ดิน 1 กรัม ในขณะที่กรรมวิธีที่ 3 และกรรมวิธีที่ 6 ปริมาณเชื้อแบคทีเรีย R. solanacearum คงเดิม หลังจากปลูกปทุมมาไปแล้ว 4 เดือน โดยปฏิบัติตามกรรมวิธีพบว่า กรรมวิธีที่ 4 ที่มีการจัดการดินโดยใช้ยูเรีย : ปูนขาว อัตรา 80 : 800 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับการใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์สายพันธุ์ 4415 สามารถควบคุมโรคเหี่ยวได้ดีที่สุดโดยเกิดโรคเหี่ยวเพียง 10 % ในขณะที่กรรมวิธีอื่นๆ เกิดโรคเหี่ยวตั้งแต่ 25 - 40 % ส่วนกรรมวิธีที่ 6 ที่เป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบเกิดโรคเหี่ยว 50 %


ไฟล์แนบ
.pdf   1150_2552.pdf (ขนาด: 140.78 KB / ดาวน์โหลด: 1,075)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม