การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย Clavibacter michiganensis subsp.
#1
การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย Clavibacter michiganensis subsp. michiganensis (Smith) Davis. ในพื้นที่ผลิตเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศเพื่อการส่งออก
ณัฏฐพร อุทัยมงคล, ศรีวิเศษ เกษสังข์, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ชลธิชา รักใคร่, ทิพวรรณ กันหาญาติ, วาสนา ฤทธิ์ไธสง, วารีรัตน์ สมประทุม และวันเพ็ญ ศรีชาติ
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          รวบรวมข้อมูลมะเขือเทศ (Lycopersicon esculentum Mill.) เช่น อนุกรมวิธาน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แหล่งปลูกมะเขือเทศการเก็บเกี่ยว ข้อมูลการนำเข้า และข้อมูลของเชื้อแบคทีเรีย Clavibacter michiganensis subsp. michiganensis (Cmm) สาเหตุโรคแคงเกอร์ของมะเขือเทศ เช่น ข้อมูลลักษณะทางอนุกรมวิธาน ชื่อสามัญ พืชอาศัย การเกิดโรค การเข้าทำลาย การตรวจสอบ ความเสียหาย วิธีการตรวจสอบ การถ่ายทอดโรค มาตรการสุขอนามัยพืชที่ใช้ รายงานประเทศที่มีการพบเชื้อจากเอกสารวิชาการ เว็บไซท์ต่างๆ รวบรวมสภาพภูมิอากาศในแหล่งปลูกมะเขือเทศของประเทศไทยและเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศที่นำเข้าจากต่างประเทศจำนวน 17 ประเทศ เพื่อตรวจหาเชื้อ Cmm ในห้องปฏิบัติในปี 2556 จำนวน 17 ครั้ง 9 ประเทศ รวม 20 ตัวอย่าง การผลการตรวจวินิจฉัยสอบไม่พบเชื้อแบคทีเรีย Cmm ติดมากับเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวและได้สำรวจโรคในแปลงปลูกมะเขือเทศของเกษตรกรภายหลังการนำเข้าระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงกันยายน 2556 ในเขตภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย ลำพูน และลำปาง ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือจังหวัดสกลนคร ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ จำนวน 215 แปลง พบว่าไม่ปรากฏโรคแคงเกอร์สาเหตุจากเชื้อ Cmm ในทุกแปลงที่ทำการสำรวจ จึงนำข้อมูลมาเข้ากระบวนการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชในขั้นตอนที่ 1 โดยจุดเริ่มต้น (Initiation) ที่เป็นผลมาจากการที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปแจ้งให้ทราบว่ามีการตรวจพบเชื้อ Cmm จากเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศที่ส่งออกจากประเทศไทย ในขณะที่ประเทศไทยได้มีการประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดให้เชื้อ Cmm เป็นศัตรูพืชกักกันของประเทศไทยโดยพื้นที่ PRA คือประเทศไทย เส้นทางศัตรูพืชในที่นี้คือเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศ และประเทศไทยยังไม่เคยประเมินเพื่อทราบระดับความเสี่ยงของเชื้อแบคทีเรีย Cmm มาก่อน และการประเมินศักยภาพในการปรับตัวของเชื้อในสภาพภูมิ อากาศประเทศไทยพบว่าเชื้อสามารถปรับตัวอยู่ในประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตามมีความจำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลของมะเขือเทศและเชื้อ Cmm เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชตลอดจนพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบเชื้อ Cmmให้มีประสิทธิภาพสูงต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   234_2556.pdf (ขนาด: 624.01 KB / ดาวน์โหลด: 1,627)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม