การพัฒนาชุดตรวจสอบและเทคนิคการแยกไส้เดือนฝอยในรากพืช
#1
การพัฒนาชุดตรวจสอบและเทคนิคการแยกไส้เดือนฝอยในรากพืช
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด, วานิช คำพานิช และช่อทิพย์ ศัลยพงษ์
ผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร

          การทดสอบวิธีการแยกไส้เดือนฝอย Radopholus similis ออกจากรากพืชส่งออก 4 ชนิด ได้แก่ พรรณไม้น้ำ กล้วยประดับ หน้าวัว และฟิโลเดนดรอน ที่ทำการปลูกเชื้อไส้เดือนฝอยจำนวน 200 ตัว/ต้น บริเวณรากของพืชทดสอบเป็นเวลา 2 - 3 เดือน และนำรากพืชที่ถูกเข้าทำลายมาทดสอบแยกไส้เดือนฝอยออกจากรากโดยวิธีซอยรากละเอียด นำไปแช่และเขย่าในแอลกอฮอล์ 5% คลอร็อกซ์ 0.5% อะบาเม็กติน 0.3% และฟิโปรนิล 0.3% พบว่าการเขย่ารากเป็นเวลา 3 นาที ด้วยแอลกอฮอล์ 5% สามารถแยกไส้เดือนฝอยออกจากรากพืชทดสอบได้ดีที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 73 62 48 และ 78 % ของรากพรรณไม้น้ำ กล้วยประดับ หน้าวัว และฟิโลเดรนดอน ตามลำดับ รองลงมาคือ อะบาเม็กติน 0.5 % เท่ากับ 35 24 18 และ 42 % ของรากพรรณไม้น้ำ กล้วยประดับ หน้าวัว และฟิโลเดรนดอน ตามลำดับ และมีความแตกต่างกับความเข้มข้นอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำวิธีการเขย่ารากพรรณไม้น้ำ (Anubias nana) ซอยละเอียดในแอลกอฮอล์ 5% เป็นเวลา 3 นาที เปรียบเทียบกับวิธีใช้ Ultrasonic 20 นาที วิธีพ่นหมอกบนรากพืช 48 ชั่วโมง และวิธีปั่นรากและหมุนเหวี่ยงด้วยสารละลายน้ำตาลพบว่า การใช้แอลกอฮอล์ 5% เขย่า 3 นาที สามารถแยกไส้เดือนฝอยออกจากรากได้ 51.2 ตัวต่อราก 10 กรัม มากกว่าวิธีพ่นหมอก 4 เท่า และเป็นวิธีที่ใช้วัสดุ-อุปกรณ์ที่มีต้นทุนต่ำกว่าวิธีใช้ Ultrasonic และวิธีการหมุนเหวี่ยงด้วยสารละลายน้ำตาล แต่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการนำไปใช้ในการตรวจแยกไส้เดือนฝอยกักกันในภาคสนามได้อย่างเหมาะสม


ไฟล์แนบ
.pdf   243_2556.pdf (ขนาด: 399.2 KB / ดาวน์โหลด: 1,566)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม