การศึกษาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Fusarium spp. สาเหตุโรคในกล้ว
#1
การศึกษาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Fusarium spp. สาเหตุโรคในกล้วยไม้ที่ปลูกเป็นการค้า
อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ธารทิพย ภาสบุตร และทัศนาพร ทัศคร
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          การศึกษาหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Fusarium spp. ได้ดำเนินการค้นข้อมูลและเก็บรวบรวมตัวอย่างเชื้อสาเหตุโรคใบเน่าดำของกล้วยไม้ นำมาแยกและจำแนกเชื้อราบริสุทธิ์ และตรวจสอบความสามารถของเชื้อราที่แยกได้ในการก่อให้เกิดโรคกับกล้วยไม้พบว่า เป็นเชื้อรา F. proliferatum จำนวน 3 ไอโซเลท F. oxysporum 2 ไอโซเลท และ F. solani ชนิดละ 1 ไอโซเลท การทดสอบสารเคมี Carbendazim, Chlorothalonil และ Prochloraz พบว่าสารเคมีทั้ง 3 ชนิด มีประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium spp. สาเหตุโรคกล้วยไม้ในจานอาหาร PDA ได้อย่างชัดเจน การทดสอบสารสกัดจากพืช คือ สารสกัดจากเปลือกมังคุด ไพร และน้้ำส้มควันไม้ 10 เปอร์เซ็นต์ ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium spp. พบว่า สารสกัดทั้ง 3 ชนิด มีประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium spp. ในจานอาหาร PDA ได้ดีแต่ได้ผลไม่ดีเท่าการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช การทดสอบประสิทธาภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์คือ Bacillus subtilis พบว่า มีประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium spp. ในจานอาหาร PDA ได้ดีแต่ได้ผลไม่ดีเท่าการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช การทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมี Carbendazim, Chlorothalonil และ Prochloraz สารสกัดจากเปลือกมังคุด ไพร ใบพลู ข่า และน้ำส้มควันไม้ 10 เปอร์เซ็นต์ และเชื้อ Bacillus subtilis ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium spp. สาเหตุโรคกล้วยไม้บนส่วนของต้นกล้วยไม้ที่ปลูกในห้องปฏิบัติการพบว่าสารเคมีมีประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อรา Fusarium spp. บนส่วนของกล้วยไม้ที่ปลูกเชื้อได้ดีที่สุด รองลงมาเป็นการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ Bacillus sp. ส่วนการใช้สารสกัดจากพืชสามารถให้ผลในการป้องกันกำจัดเชื้อราได้ในระดับต่ำสุด การทดสอบการใช้สารสกัดจากขมิ้นชัน สารสกัดจากไพล และน้ำส้มควันไม้ ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium spp. ที่ทำให้เกิดโรคกับกล้วยไม้ในสภาพโรงเรือนพบว่า สารสกัดทั้ง 2 ชนิด มีประสิทธิภาพการยับยั้งการเกิดโรคบนใบของกล้วยไม้ที่ปลูกเชื้อได้ในระดับที่ต่ำกว่าสารเคมี carbendazim 50% WP, chlorothalonil 75% WP, prochloraz 50% WP, captan 80% WP และ captan 50%WP การทดสอบการใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium spp. ที่ทำให้เกิดโรคกับกล้วยไม้ในสภาพโรงเรือนพบว่า เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ B. subtilis มีประสิทธิภาพการยับยั้งการเกิดโรคบนใบของกล้วยไม้ที่ปลูกเชื้อได้ในระดับที่ต่ำกว่าสารเคมี carbendazim 50%WP, chlorothalonil 75%WP, prochloraz 50%WP, captan 80%WP และ captan 50%WP แต่พบว่า มีระดับการยับยั้งการขยายของอาการโรคได้ผลดีกว่าการกรรมวิธีการใช้สารสกัดจากพืชคือ สารสกัดจากขมิ้นชัน สารสกัดจากไพล และน้ำส้มควันไม้


ไฟล์แนบ
.pdf   271_2556.pdf (ขนาด: 340.94 KB / ดาวน์โหลด: 2,515)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม