การจัดการโรคใบไหม้ของมันฝรั่งที่มีสาเหตุจากรา Phytophthora infestans (Mont.) de Bary
#1
การจัดการโรคใบไหม้ของมันฝรั่งที่มีสาเหตุจากรา Phytophthora infestans (Mont.) de Bary
อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ และธารทิพย ภาสบุตร
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

          ศึกษาการจัดการโรคใบไหม้ของมันฝรั่งที่มีสาเหตุจากรา Phytophthora infestans (Mont.) de Bary ที่ แปลงทดลองของศูนย์บริการวิชาการฯ เชียงใหม่ (ฝาง) อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2554 - กันยายน 2555 การทดลองมี 11 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ ผลการตรวจครั้งสุดท้าย (ครั้งที่ 5) พบว่าการแช่หัวพันธุ์ในสารป้องกันกำจัดโรคพืช dimethomorph 50%WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ผลดีที่สุดในการควบคุมโรคใบไหม้ของมันฝรั่ง มันฝรั่งเป็นโรคระดับ 4.25 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากกรรมวิธีอื่นๆ แต่ไม่แตกต่างกับกรรมวิธีไม่แช่หัวพันธุ์ก่อนปลูกในสารชนิดเดียวกัน มันฝรั่งเป็นโรคในระดับ 5.22 ส่วนสารป้องกันกำจัดโรคพืช matalaxyl 20%WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และ fosetyl – aluminium 80%WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทั้งการแช่หัวพันธุ์และไม่แช่หัวพันธ์ก่อนปลูก ไม่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคใบไหม้ของมันฝรั่ง

          การทดลองที่ แปลงทดลองของศูนย์บริการวิชาการฯ แม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ระหว่างเดือนตุลาคม 2555 - กันยายน 2556 การทดลองมี 6 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 4 ซ้ำ ผลการทดลองเป็นไปในทางเดียวกันพบว่า กรรมวิธีไม่แช่หัวพันธุ์ก่อนปลูกแล้วพ่นหลังปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช dimethomorph 50%WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ผลดีที่สุดในการควบคุมโรคใบไหม้ มันฝรั่งเป็นโรคในระดับ 2.96 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากกรรมวิธีอื่นๆ แต่ไม่แตกต่างกับกรรมวิธีพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช cymoxamil + mancozeb 8% + 64%WP มันฝรั่งเป็นโรคในระดับ 3.25 ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคได้ดีกว่ากรรมวิธีเปรียบเทียบซึ่งเป็นโรคในระดับ 5.80 แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % โดยวิธี DMRT


ไฟล์แนบ
.pdf   272_2556.pdf (ขนาด: 1.27 MB / ดาวน์โหลด: 3,702)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม