ทดสอบและพัฒนาระบบการจัดการน้ำในสวนลำไย
#1
ทดสอบและพัฒนาระบบการจัดการน้ำในสวนลำไย
เกรียงศักดิ์ นักผูก, สถิตย์พงศ์ รัตนคำ, พิจิตร ศรีปินตา, สนอง อมฤกษ์, ชัยวัฒน์ เผ่าสันทัดพาณิชย์, สมเดช ไทยแท้, วีระ ศรีกระจ่าง และปรีชา ชมเชียงคำ

          การสำรวจวิธีการให้น้ำในแปลงลำไยของเกษตรกรโดยเก็บข้อมูลจากการสอบถามกับเกษตรกรชาวสวนลำไยในเขตภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ ลำพูน และเชียงราย) พบว่า การให้น้ำในสวนลำไยจะให้น้ำใน ช่วงเดือนมีค. - เม.ย. แหล่งน้ำที่ใช้คือ บ่อน้ำภายในสวน ลำห้วย บ่อบาดาล ระบบชลประทานที่ส่งน้ำตามร่องน้ำ และระบบปั๊มสูบน้ำส่งด้วยระบบท่อให้น้ำแบบสายยางลงในคันดิน จนน้ำสูงเต็มคันดิน ใช้เวลา 8 - 15 นาที/ต้น เกษตรกรส่วนมากใช้เครื่องเบนซิน 5 แรงม้า ติดกับปั๊มขนาด 550 ลิตร/นาที คิดคำนวณปริมาณน้ำที่ให้ในแต่ละครั้งประมาณ 4,400 - 6,600 ลิตร/ต้น รอบการให้น้ำ 7 - 10 วัน/ครั้ง แล้วคัดเลือกแปลงทดสอบ ติดตั้งและทดสอบระบบการให้น้ำในแปลงลำไย 2 แปลง ได้แก่ แปลงลำไยของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ลำไยมีอายุ 3 ปี ทรงพุ่มเฉลี่ย 1.6 เมตร ให้น้ำโดยหัวมินิสปริงเกอร์ แบ่งรอบเวรการให้น้ำเป็นกรรมวิธี (Treatment) มี 4 กรรมวิธี ได้แก่ หนึ่งการให้น้ำ 1 ครั้ง/สัปดาห์ เวลาในการให้น้ำ 2 ชั่วโมง/ครั้ง สองการให้น้ำ 2 ครั้ง/สัปดาห์ เวลาในการให้น้ำ 1 ชั่วโมง/ครั้ง สามการให้น้ำ 3 ครั้ง/สัปดาห์ เวลาในการให้น้ำ 40 นาที/ครั้ง และสี่การให้น้ำปกติที่ในแปลงที่เคยให้อยู่ คือ ให้น้ำ 1 ครั้ง/สัปดาห์ เวลาในการให้น้ำ 1 ชั่วโมง/ครั้ง และแปลงเกษตรกร ลำไยมีมีอายุ 15 ปี ทรงพุ่มเฉลี่ย 3.45 เมตร ให้น้ำ 3 กรรมวิธี ได้แก่ หนึ่งการให้น้ำโดยหัวมินิสปริงเกอร์ 3 หัว/ต้น ใช้เวลาในการให้น้ำครั้งละ 4 ชั่วโมง 25 นาที สองการให้น้ำโดยหัวสปริงเกอร์ 1 หัว/ต้น ใช้เวลาในการให้น้ำครั้งละ 2 ชั่วโมง 30 นาที และสามการให้น้ำ 1 ครั้ง/สัปดาห์ พบว่า ลำไยที่แปลงศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ กรรมวิธีที่หนึ่งกับ กรรมวิธีที่สอง มีอัตราการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน คือ อัตราการเจริญเติบโตรอบโคนต้น 45.9, 48.5 % อัตราการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม 45.2, 47.8 % และ อัตราการเจริญเติบโตของความสูง 25.6, 30.2 % รองลงมาเป็นกรรมวิธีที่สามมีอัตราการเจริญเติบโตของเส้นรอบวงโคนต้น 39.7 % อัตราการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม 36.2 % และอัตราการเจริญเติบโตของความสูง 23.8 % และกรรมวิธีที่สี่ อัตราการเจริญเติบโตต่ำสุด คือ อัตราการเจริญเติบโตของเส้นรอบวงโคนต้น 22.2 % อัตราการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม 33.6 % และอัตราการเจริญเติบโตของความสูง 20.1 % และแปลงลำไยของเกษตรกร กรรมวิธีที่หนึ่งกับกรรมวิธีที่สอง มีอัตราการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน คือ อัตราการเจริญเติบโตของเส้นรอบวงโคนต้น 22.1, 21.9 % อัตราการเจริญเติบโตของทรงพุ่มกัน 10.9, 10.4 % อัตราการเจริญเติบโตของความสูง 13.3, 26.3 % ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลโดยเฉลี่ย 26.5, 26.6 มิลลิเมตร. มีจำนวนเฉลี่ย 93, 95 ผล/กิโลกรัม. และปริมาณบริกซ์เฉลี่ย 19.0, 17.5 บริกซ์ และกรรมวิธีที่สาม อัตราการเจริญเติบโตของเส้นรอบวงโคนต้น 17.4 % ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลโดยเฉลี่ย 24.2 มิลลิเมตร. มีจำนวนเฉลี่ย 105 ผล/กิโลกรัม และปริมาณบริกซ์เฉลี่ย 16.7 บริกซ์


ไฟล์แนบ
.pdf   301_2556.pdf (ขนาด: 946.29 KB / ดาวน์โหลด: 1,535)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม