การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองเพื่อเพิ่มคุณคาทางโภชนาการ
#1
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองเพื่อเพิ่มคุณคาทางโภชนาการ
ละอองดาว แสงหลา, จารุวรรณ บางแวก, กัลยา วิธี, ฉัตรสุดา เชิงอักษร, อรวรรณ จิตต์ธรรม, จงรักษ์ พันธ์ไชยศรี, ภัควิไล ยอดทอง, โสพิศ ใจปาละ, พิมพ์นภา ขุนพิลึก, นภาพร คํานวณทิพย์ และนพพร ทองเปลว

          โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ เน้นศึกษาปริมาณสารไอโวฟลาโวน เหล็ก กาบ้า แอนโธไซยานินในถั่วเหลือง เทคโนโลยีการผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณสารไอโซฟลาโวน ธาตุเหล็กและ/หรือลดสารต่อต้านการดูดซึม (ไฟเตท) และการพัฒนาคุณภาพน้ำมันถั่วเหลืองดําเนินวิจัยตั้งแต่ ปี 2554 - 2558 ผลการทดลองพบว่า ถั่วเหลือง 12 พันธุ์/สายพันธุ์ สามารถจัดกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ตามปริมาณสารสําคัญ คือ สูง ปานกลาง และต่ำ การปลูกถั่วเหลืองให้มีสารไอโซฟลาโวนสูง มีช่วงปลูกที่เหมาะสมในฤดูแล้ง เมื่อสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยไม่เกิน 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย 60 - 76 เปอร์เซ็นต์ ส่วนฤดูฝนมีปริมาณน้ำฝนสะสมเพิ่มขึ้นและมีความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย 60 - 76 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การใช้สารเคมีกําจัดวัชพืชประเภทหลังงอก ชื่อ โฟมีซาเฟน อัตรา 30 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ที่ระยะ R1 หรือ R5 ทําให้ถั่วเหลืองผลิตสารไอโซฟลาโวนเพิ่มขึ้นจากการไม่พ่น 51.8 - 65.2 และ 29.6 - 35.9 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูแล้งและฤดูฝน ตามลําดับ โดยไม่มีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตถั่วเหลืองและมีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 0.30 บาท/กิโลกรัม และเมื่อนําถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 ไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง จะทําให้สารไอโซฟลาโวนรวมและสารไอโซฟลาโวนแต่ละชนิดในน้ำมันถั่วเหลืองสูงขึ้นกว่าการเก็บรักษาที่ 25 และ 10 องศาเซลเซียส ในขณะที่การเก็บรักษาน้ำมันถั่วเหลืองในทุกระดับอุณหภูมิ สารไอโซฟลาโวนจะลดลงตามระยะเวลาการเก็บรักษาและสลายหมด เมื่อเก็บรักษานาน 8 เดือน ส่วนการเก็บรักษาถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 2 และศรีสําโรง 1 เก็บรักษาไว้ไม่เกิน 3 เดือน จะทําให้น้ำมันถั่วเหลืองที่สกัดได้มีคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นหืน โดยการเก็บรักษาที่อุณหภูมิสูง (อุณหภูมิห้อง) คุณภาพน้ำมันถั่วเหลืองลดลงเร็วกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ (25 และ 10 องศาเซลเซียส) ส่วนอายุการเก็บรักษาน้ำมันถั่วเหลืองที่อุณหภูมิต่ำ 10 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษาได้นาน (12 เดือน) กว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิสูง (4 เดือน) (อุณหภูมิห้อง) สําหรับการปลูกถั่วเหลืองให้มีสารไฟเตทต่ำและ/หรือธาตุเหล็กสูงโดยการใช้ปุ๋ยฟอสเฟต ในรูปของ N-P2O5-K2O อัตรา 3-9-6 กิโลกรัม/ไร่ ทําให้มีปริมาณไฟเตทต่ำสุดและการใช้ไม่มีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตถั่วเหลือง สามารถนําไปใช้ในสภาพดินร่วนปนทราย ที่มีสภาพดินเป็นกรดอ่อนถึงกรด


ไฟล์แนบ
.pdf   60_2558.pdf (ขนาด: 4.28 MB / ดาวน์โหลด: 1,762)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม