วิจัยและปรับปรุงพันธุ์มะม่วง
#1
วิจัยและปรับปรุงพันธุ์มะม่วง
สมพงษ์ สุขเขตต์, ธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์, พฤกษ์ คงสวัสดิ์, สุภาวดี สมภาค, เพ็ญจันทร์ สุทธานุกูล, วสรรญ ผ่องสมบูรณ์, จันทนา โชคพาชื่น และอนุรักษ์ สุขขารมย์

          การวิจัยและปรับปรุงพันธุ์มะม่วง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร เริ่มดำเนินการ ตุลาคม 2554 สิ้นสุด กันยายน 2558 ระยะเวลา 4 ปี ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ 1) การทดสอบพันธุ์มะม่วงลูกผสมเพื่อการส่งออก (ระยะที่ 1, 2) การสร้างสวนมะม่วงสายพันธุ์ใหม่เพื่อการส่งออก (ระยะที่ 2 และ 3) การจำแนกพันธุ์มะม่วงในสภาพแปลงปลูกเพื่อการใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรม ผลการทดลองกิจกรรมที่ 1 พบว่า การเจริญเติบโตของแต่ละแห่งไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แต่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัยมีการเจริญเติบโตสูงกว่าแปลงทดสอบที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ เนื่องจากศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ใช้ต้นทดลองที่ได้จากการเปลี่ยนยอดบนต้นตอที่มีอายุ 1 ปี โดยวิธีการเสียบข้าง (Side Grafting) แต่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษใช้ต้นทดลองที่ได้จากการทาบกิ่ง (Grafting ด้านผลผลิต เนื่องจากให้ผลผลิตปีแรก (2558) ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ไม่สามารถให้ผลผลิตได้เนื่องจากประสบภัยแล้ง การทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษพบว่า พันธุ์ศรีสะเกษ 0006 และพันธุ์ศรีสะเกษ 0009 ให้ผลผลิตสูงสุด คือ 11.60 และ 11.57 กิโลกรัมต่อต้น พันธุ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ความหวานสูงสุด คือ พันธุ์ศรีสะเกษ 0009 พันธุ์ศรีสะเกษ 0095 และพันธุ์ศรีสะเกษ 0005 มีเปอร์เซ็นต์ความหวาน 24.46 24.25 และ 23.97 องศาบริกซ์ ตามลำดับ พันธุ์ที่มีอายุการวางชั้นนานที่สุด พันธุ์ศรีสะเกษ 0005 และ พันธุ์ศรีสะเกษ 0009 คือ 10.6 และ 10.3 วัน ตามลำดับ กิจกรรมที่ 2 มี 2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 การสร้างสวนมะม่วงสายพันธุ์ใหม่เพื่อการส่งออก (ระยะที่ 2) ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย การทดลองที่ 2 การศึกษาและคัดเลือกพันธุ์มะม่วงพันธุ์ไทยกลุ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาใช้ประโยชน์ด้านการบริโภคสดและการแปรรูป ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ผลการทดลองที่ 1 ได้มะม่วงลูกผสมจำนวน 15 คู่ผสม ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ และจำนวน 14 คู่ผสม ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย จะนำไปปลูกในแปลงเพื่อจะขยายพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์มะม่วงลูกผสมดังกล่าว ต่อไป การศึกษาและคัดเลือกมะม่วงพันธุ์ไทยกลุ่มต่างๆ เพื่อพัฒนาใช้ประโยชน์ด้านการบริโภคสดและการแปรรูป มีการเก็บข้อมูลผลผลิต และคุณภาพผลผลิตของมะม่วงพันธุ์ไทยได้จำนวน 36 สายพันธุ์ ผลการทดลอง กิจกรรมที่ 3 การจำแนกพันธุ์มะม่วงในสภาพแปลงปลูกเพื่อการใช้ประโยชน์จากเชื้อพันธุกรรม ดำเนินการศีกษาลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์ (botanical characteristics) และลักษณะทางการเกษตร (descriptors) ของมะม่วง จำนวน 69 พันธุ์ และได้ข้อมูลตามแบบการจัดเก็บบันทึกฐานข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์เป็นแหล่งเชื้อพันธุ์ในการจัดการด้านพันธุ์มะม่วงของไทยตามวัตถุประสงค์ต่างๆ


ไฟล์แนบ
.pdf   85_2558.pdf (ขนาด: 952.34 KB / ดาวน์โหลด: 9,581)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม