การวิจัยเทคโนโลยีการผลิตกาแฟเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต
#1
การวิจัยเทคโนโลยีการผลิตกาแฟเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต
ปิยนุช นาคะ, ทิพยา ไกรทอง, สมพล นิลเวศน์, ปิยนุช นาคะ, สนอง จรินทร, ปานหทัย นพชินวงศ์, ฉัตรนภา ข่มอาวุธ, มานพ หาญเทวี, สุพัฒนกิจ โพธิ์สว่าง, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, อนันต์ ปัญญาเพิ่ม, เสรี อยู่สถิตย์, สุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ, ลิลลี่ พรานุสร, ธารทิพย์ ภาสบุตร, ผานิต งานกรณาธิการ,  อภิรัชต์ สมฤทธิ์ล ยุพิน กสินเกษมพงษ์, วิมล แก้วสีดา และจุลศักดิ์ บุญรัตน์
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่, ส านักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช, สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ (ฝาง), ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย, สถาบันเกษตรวิศวกรรม และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน

          กระบวนการก่อนการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา เมล็ดกาแฟเป็นจุดสำคัญหนึ่งในการผลิตเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ และปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ตลอดจนการที่สภาพแวดล้อมทางภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และจากสภาพแวดล้อมทางภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันทำให้เกิดโรคและแมลงชนิดใหม่ๆ ระบาดมากขึ้น การปลูกพืชร่วมเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและรายได้แก่เกษตรกรจำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัย เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการผลิตกาแฟในการเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต พัฒนาระบบการผลิตกาแฟแบบปลอดภัยจากโรคและแมลง เพื่อให้มีผลผลิตและคุณภาพอย่างยั่งยืน รวมทั้งเพิ่มคุณภาพเมล็ดกาแฟในกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวของกาแฟเพื่อให้ได้คุณภาพดี ผลผลิตสูง ปลอดภัยจากสารพิษเป็นที่ยอมรับของอุตสาหกรรมและผู้บริโภค โดยมีดำเนินการ 2 กิจกรรม 5 การทดลองได้แก่ กิจกรรมที่ 1 การจัดการศัตรูพืชและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว มี 2 การทดลอง ได้แก่ ผลของระยะเวลาในการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟต่อการเข้าทำลายของด้วงกาแฟและปริมาณสารพิษจากเชื้อรา (Ochratoxin A) การศึกษาคุณภาพของเมล็ดกาแฟโรบัสตาที่ได้จากการตากแห้งผลสดที่ชะลอการตากไว้ทีระยะเวลาต่างๆ กัน การสำรวจ รวบรวม และจำแนกชนิดโรคกาแฟอะราบิกาในประเทศไทย กิจกรรมที่ 2 เทคโนโลยีการผลิต มี 2 การทดลองได้แก่ การจัดการธาตุอาหารของกาแฟโรบัสตาตามค่าประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดินและพืช และการพัฒนาระบบการปลูกกาแฟอะราบิกา โดยมีวิธีดำเนินการตามแผนการทดลองของแต่ละการทดลอง ดำเนินการตั้งแต่ตุลาคม 2553 สิ้นสุด กันยายน 2558 สถานที่ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช สวนกาแฟของเกษตรกรภาคเหนือและภาคใต้ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย จ.น่าน จ.ชุมพร จ.ระนอง จ.สุราษฎร์ธานี ผลการทดลองพบว่า การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟในภาชนะต่างๆประกอบด้วย ถุงพลาสติกหนาแบบซีล ถุงผ้าด้ายดิบ ถุงกระสอบปุาน ถุงพลาสติกหนา ถุงกระสอบปุาน และถุงพลาสติกใสที่อายุ 3, 6, 9 และ 12 เดือน พบว่าการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟที่อายุ 3 เดือนในฤดูกาลผลิตปี 2555/56 และ 2556/57 ไม่พบการเข้าทำลายของด้วงกาแฟและเชื้อรา และสามารถเก็บรักษาเมล็ดกาแฟที่มีความชื้นไม่เกิน 13% ได้นานสูงสุด 6 เดือน โดยเก็บในถุงพลาสติกแบบซีลดีที่สุด สำหรับการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟที่อายุ 12 เดือนหลังการทดลอง พบการเข้าทำลายของด้วงกาแฟมากที่สุดในทุกภาชนะที่ทำการเก็บรักษา และพบค่าปริมาณสารพิษจากเชื้อราอยู่ระหว่าง 2.62 - 5.11 μg/kg โดยพบค่าปริมาณสารพิษจากตัวอย่างเมล็ดกาแฟที่เก็บรักษาในถุงผ้าด้ายดิบมากที่สุด 5.11 μg/kg ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานสากลกำหนด (ไม่เกิน 5 μg/kg หรือppb) ส่วนการเก็บในถุงพลาสติกแบบซีลสูญญากาศพบค่าปริมาณสารพิษต่ำสุด 2.62 μg/kg ซึ่งสามารถนำวิธีการดังกล่าวไปแนะนำเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปกาแฟ ให้สามารถเก็บรักษาเมล็ดกาแฟที่ปลอดภัยต่อการทำลายของด้วงกาแฟ และสารพิษจากเชื้อรา นอกจากนั้นการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟความชื้นเริ่มต้นไม่ควรเกิน 13% และภาชนะในการเก็บรักษามีผลต่อการดูดความชื้นของเมล็ดกาแฟ กล่าวคือ ถ้าเก็บรักษาเมล็ดกาแฟในภาชนะที่ปิดมิดชิดออกซิเจนแลกเปลี่ยนได้น้อย นอกจากนั้นฤดูกาล ความชื้นของอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการเข้าทำลายของด้วงกาแฟและเชื้อรา ควรเก็บในห้องเก็บที่เหมาะสม ไม่โดนฝน ความชื้น และอยู่ห่างจากแหล่งของเสียเช่น แหล่งปล่อยน้ำเสีย บ่อขยะ กองแกลบกาแฟ หรือเก็บกาแฟไว้รวมกับสิ่งอื่น เนื่องจากกาแฟสามารถดูดกลิ่นอย่างอื่นเข้าไปด้วยทำให้กลิ่น รสชาติเปลี่ยน นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งอาศัยของด้วงกาแฟ การทดลองที่ 2 พบว่า กรรมวิธีที่ดีที่สุดในการตากกาแฟ คือ การลอยผลกาแฟและทำการตากภายใน 1 วัน ซึ่งเป็นวิธีที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ในการตากแห้งกาแฟตามหลักเกษตรดีที่เหมาะสม ทั้งนี้เมล็ดกาแฟที่ได้มีอัตราเฉลี่ยการเข้าทำลายเมล็ดกาแฟของเชื้อรา 90% ซึ่งน้อยกว่ากรรมวิธีอื่น และเมล็ดกาแฟที่ได้มีคุณภาพดีมากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ 93.55 มีข้อบกพร่องรวมน้อยไม่เกินร้อยละ 7 และมีคุณภาพการชิมที่ดีผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลอดการทดลอง กรรมวิธีรองลงมา คือ ไม่ลอยผลกาแฟและทำการตากภายใน 1 วัน และ เก็บผลกาแฟสุก ไม่ลอยน้ำ หมักในกระสอบปุ๋ย 3 วัน ก่อนนำออกตาก ซึ่งมีอัตราเฉลี่ยการเข้าทำลายเมล็ดกาแฟของเชื้อราใกล้เคียงกัน ได้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพสูงกว่า 90% ดังนั้นหากเกษตรกรมีปัญหาด้านแรงงานในการเก็บเกี่ยวและการตากกาแฟ อาจอนุโลมให้ใช้กรรมวิธีที่ 2 และ 3 ได้ การทดลองที่ 3 พบโรคราสนิม เกิดจากเชื้อรา Hemileiavastatrix โรคแอนแทรกโนส เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides โรคตากบ เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp. และโรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. โดยโรคที่พบระบาดทั่วไปทุกพื้นที่ปลูกกาแฟอะราบิกา ได้แก่ โรคราสนิม และโรคแอนแทรกโนส และพบว่าปัจจุบันโรคแอนแทรกโนสมีการแพร่ระบาดเพิ่มมากขึ้นทุกพื้นที่ กิจกรรมที่ 2 การทดลองที่ 1 พบว่า กรรมวิธีที่ 4 การใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำของกรม เป็นกรรมวิธีที่ให้ผลดีที่สุดการเจริญเติบโต ทั้งด้านความสูง ขนาดรอบโคนและขนาดทรงพุ่ม องค์ประกอบของผลผลิต และคุณภาพของเมล็ด พบว่าแนวโน้มน้ำหนัก 100 เมล็ดมากกว่ากรรมวิธีอื่นๆ ผลผลิตเฉลี่ยกรรมวิธีที่ 4 มากกว่ากรรมวิธีที่ 3 แต่ในแง่ของต้นทุนและผลตอบแทนพบว่า กรรมวิธีที่ 3 ให้ผลตอบแทนสุทธิสูงสุดเมื่อเทียบกับกรรมวิธีอื่น ซึ่งต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงาน และค่าปุ๋ย ถ้าใข้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน + พืชแล้วจะลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีลงได้ ส่งผลให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเช่นกัน การทดลองที่ 2 หลังปลูก 1 ปี 7 เดือน ได้ข้อมูลเบื้องต้นซึ่งพบว่า กาแฟอะราบิกาที่ปลูกร่วมกับชาจีน (กรรมวิธีที่ 3) มีอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากที่สุดคือ 0.119 ซม.ซม.(-1).เดือน(-1) และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือ 22,521.01 บาทต่อไร่ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าระบบใดดีที่สุดและควรมีข้อมูลผลผลิตและผลตอบแทนร่วมด้วย ซึ่งจะต้องเก็บข้อมูลต่อไปเพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนและระบบที่เหมาะสมในการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   91_2558.pdf (ขนาด: 1.64 MB / ดาวน์โหลด: 7,006)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม