การวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์
#1
การวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์
ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง

โครงการที่ 1 ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในการผลิตไม้ผลอินทรีย์
สาลี่ ชินสถิต, หฤทัย แก่นลา, อรุณี แท่งทอง, เกษสิริ ฉันทะพิริยะพูน, อุมาพร รักษาพราหมณ์, ขนิษฐา วงษ์นิกร, เฉลิมพล เอี่ยมพลับ, กิตติพงศ์ โชคชัย, วนิดา โนบรรเทา, ประไพ ทองระอา, ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง, ณฐนน ฟูแสง, พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, พรศิริ มณีโชติ, อาทิตยา พงษ์ชัยสิทธิ์, วิทยา อภัย, เนาวรัตน์ ตั้งมั่นคงวรกูล, สุทธินี ลิขิตตระกูลรุ่ง, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, สุพัตรา สุภาการ, รัชดาวัลย์ สิริธนิตนันท์, บุญชู สายธนู, เครือวัลย์ บุญเงิน, จันทนา ใจจิตร, ศักดิ์ดา เสือประสงค์, อรัญญา ภู่วิไล และมณฑาทิพย์ อรุณวรากรณ์

          ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ ระบบนิเวศน์ เทคโนโลยีในการผลิตไม้ผลและพืชผักอินทรีย์ เพื่อน่าไปสนับสนุนการจัดทำมาตรฐาน จากการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากการผลิตเกษตรเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในการผลิตไม้ผลอินทรีย์ ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พืชลำไย และจังหวัดจันทบุรี ดำเนินการในพืชมังคุด ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2557 กิจกรรมที่ 2 ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในการผลิตพืชผักอินทรีย์ ดำเนินการพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสุพรรณบุรี และลพบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2556 ทั้งสองกิจกรรมเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คุณสมบัติดิน (ธาตุอาหาร ความหนาแน่นดิน จุลินทรีย์ดิน โลหะหนัก) คุณสมบัติน้ำ (จุลินทรีย์ที่เป็นโทษ) ปริมาณผลผลิตและสารพิษตกค้าง ส่ารวจแมลงศัตรูพืชและแมลงศัตรูธรรมชาติ

          ผลการทดลองพบว่า กิจกรรมที่ 1 ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในการผลิตไม้ผลอินทรีย์มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการผลิตไม้ผลอินทรีย์ เช่น ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุและปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดเพิ่มขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงและความหนาแน่นดินรวม ส่วนค่าอื่นๆ ทั้งปริมาณโลหะหนักในดิน น้ำหมัก พบแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน พบจุลินทรีย์ E. Coli และ Salmonella spp. ในน้ำ แต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน และไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิต ส่วนกิจกรรมที่ 2 ศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมในการผลิตพืชผักอินทรีย์ พบมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการผลิตพืชผักอินทรีย์ ได้แก่ ดินมีปริมาณอินทรียวัตถุสูง จุลินทรีย์ในดินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นดินรวมเพิ่มขึ้น โลหะหนักในดิน น้ำหมัก และน้ำ ไม่เกินค่ามาตรฐาน จุลินทรีย์ E. Coli และ Salmonella spp. ในผลผลิต ไม่เกินค่ามาตรฐาน และไม่พบสารพิษตกค้างในน้ำและในพืชผัก

โครงการที่ 2 การศึกษาระบบการปลูกพืชร่วมเพื่อจัดการระบบสมดุลในห่วงโซ่อาหารในระบบเกษตรอินทรีย์
พัชรีวรรณ จงจิตเมตต์, รจนา ไวยเจริญ, ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง, ประไพ ทองระอา, เพทาย กาญจนเกษร, อนรรค อุปมาลี, นิสิต บุญเพ็ง, สุมาลี สุวรรณบุตร, ดรุณี สมณะ, ดารากร เผ่าชู และสุชาติ แก้วกมลจิต, วลีรัตน์ วรกาญจนบุญ, ยุวลักษณ์ ผายดี และพีชณิตดา ธารานุกูล

          โครงการศึกษาระบบการปลูกพืชร่วมเพื่อจัดการระบบสมดุลในห่วงโซ่อาหารในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งอยู่ภายใต้ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชระบบเกษตรอินทรีย์ ดำเนินงานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 จนถึงเดือนกันยายน 2558 รวมเป็นเวลา 5 ปี วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ 1) การศึกษาชนิดของพืชกับดักที่มีประสิทธิภาพ และพืชอาศัยแมลงที่มีประโยชน์ในระบบการปลูกพืชอินทรีย์ 2) การศึกษารูปแบบการนำพืชกับดักและพืชอาศัยแมลงมีประโยชน์ไปใช้ในระบบการปลูกพืชอินทรีย์ 3) การศึกษารูปแบบการป้องกันก่าจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในระบบการปลูกพืชอินทรีย์ และ 4) การศึกษาการจัดการดินและปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพในการผลิตฝรั่งและแก้วมังกรในระบบอินทรีย์ ซึ่งทุกหน่วยงานได้แก่ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 สำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอำนาจเจริญ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ดำเนินการโดยมุ่งเน้นศึกษาพืชปลูกในพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยดำเนินการวิจัยในแต่ละกิจกรรม 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การศึกษาชนิดของพืชกับดักที่มีประสิทธิภาพในระบบการปลูกพืชอินทรีย์ 2) การศึกษารูปแบบของการนำพืชกับดักไปใช้ในระบบการปลูกพืชอินทรีย์ 3) การศึกษารูปแบบการป้องกันก่าจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในระบบการปลูกพืชอินทรีย์ และ 4) การศึกษาระบบการจัดการดินและปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพในการผลิตพืชอินทรีย์

          ผลการดำเนินงานทั้งหมดได้ข้อมูลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาวิจัยต่อเนื่อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง คือ สามารถทราบชนิดพืชกับดักที่สามารถดักจับแมลงได้ในแปลงปลูกพืชหลัก ทราบชนิดพืชที่เป็นที่หลบอาศัยโดยสำรวจพบแมลงศัตรูธรรมชาติมาก ทราบรูปแบบการปลูกพืชร่วมกับพืชปลูกหลักแต่ละชนิด เพื่อป้องกันก่าจัดแมลงศัตรูพืชที่หลากหลาย และทราบรูปแบบการป้องกันก่าจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในระบบการผลิตพืชผัก พืชผักสมุนไพร และพืชไร่อินทรีย์ นอกจากนี้ยังได้ทราบถึงอิทธิพลของระบบการจัดการดินและปุ๋ยในการผลิตฝรั่งและแก้วมังกรอินทรีย์ เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับการนำไปปรับใช้กับพืชชนิดอื่นๆ ได้ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   226_2558.pdf (ขนาด: 1.49 MB / ดาวน์โหลด: 6,210)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม