วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
#1
วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
อัจฉรา นันทกิจ

โครงการวิจัยที่ 1 : การศึกษาการจัดการธาตุอาหาร ดิน ปุ๋ย และโลหะหนัก ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับลักษณะดิน
สรัตนา เสนาะ, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, วนิดา โนบรรเทา, กิตจเมต แจ้งศริกุล, วริศ แคนคอน, ศิริขวัญ ภู่นา, วัลลีย์ อมรพล, อรัญญ์ ขันติวิชย์, ชูศักดิ์ สัจจพงษ์, สุปรานี มั่นหมาย, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ณัฐพงษ์ ศรีสมบัติ, ศราริน กลิ่นโพธิกลับ, อุชฎา สุขจันทร์, ประภาศรี จงประดิษฐ์นันท์, ไพรสน รุจิคุณ, จินดารัตน์ ชื่นรุ่ง, สมฤทัย ตันเจริญ, รัฐกร สืบคำ, สาธิต อารีรักษ์, สุรสิทธิ์ อรรถจารุสิทธิ์, สรรเพชญ์ อิ้มพัฒน์, ดาวรุ่ง คงเทียน, อนันต์ ทองภู, บรรณพิชญ์ สัมฤทธิ์, รมิดา ขันตรีกรม และอนุสรณ์ เทียนศิริฤกษ์

          ปัจจุบันราคาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งปุ๋ยเคมีนั้นมีราคาสูงขึ้นมาก ดังนั้นเกษตรกรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้ปัจจัยการผลิตปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด จึงต้องพัฒนาคำแนะนำในการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีความเฉพาะเจาะจงกับพื้นที่ดิน และปัญหาดินเสื่อมโทรมอันเนื่องจากผลกระทบของการเกิดมลพิษ จากการปนเปื้อนของโลหะหนักที่มีต่อคุณภาพของดินและผลิตผลทางการเกษตร เนื่องจากในปัจจุบันการปนเปื้อนของโลหะหนัก ในผลผลิตการเกษตรถือเป็นประเด็นสำคัญ ที่นำมาเป็นข้อกีดกันทางการค้า ดังนั้นการจัดการดำนธาตุอาหารพืช ดิน ปุ๋ย และโลหะหนัก ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับลักษณะดิน วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลอัตราการสูญหายของไนโตรเจนจากการระเหิด การชะล้างและในพื้นที่ลาดชัน ศักยภาพการดูดซับและการปลดปล่อยฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และจุลธาตุของดินกลุ่มต่างๆ เพื่อใช้ในการประเมินการใช้ปุ๋ยที่มีความเฉพาะเจาะจงตามลักษณะดิน ให้ได้ข้อมูลปริมาณของโลหะหนักและคุณภาพดินในแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจกำหนดแนวทางหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการปนเปื้อนของโลหะหนักในระบบเกษตร โครงการวิจัยนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 - 2558 เป็นเวลา 5 ปี มีทั้งหมด 5 กิจกรรม 17 การทดลอง โดยกิจกรรมที่ 1 การประเมินการสูญหายของปุ๋ยไนโตรเจนจากดินภายใต้สภาพต่างๆ 4 การทดลอง ทำให้ได้ข้อมูลการสูญหายของปุ๋ยไนโตรเจนจากการระเหิดจากดินในสภาพห้องปฏิบัติการ 8 ชุดดิน สภาพพื้นปลูก 2 ชุดดิน การสูญหายปุ๋ยไนโตรเจนจากการชะล้างในดินปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3 ชนิดดิน และวิธีการป้องกันการสูญหายปุ๋ยไนโตรเจนในพื้นที่ลาดชันสำหรับมันสำปะหลัง 1 ชุดดิน กิจกรรมที่ 2 ศึกษาศักยภาพการดูดซับและการปลดปล่อยฟอสฟอรัสของดินที่กลุ่มต่างๆ สำหรับใช้ในการประเมินการใช้ ปุ๋ยฟอสเฟตอย่างแม่นยำเฉพาะพื้นที่ 6 การทดลอง ได้ข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับและการปลดปล่อยฟอสฟอรัสและคำแนะนำปริมาณความต้องการของปุ๋ยฟอสเฟตจากสมการคาดคะเน 8 ชุดดิน คำแนะนำปุ๋ยฟอสเฟตสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3 ชุดดิน คำแนะนำปุ๋ยฟอสเฟตสำหรับมันสำปะหลัง 1 ชุดดิน กิจกรรมที่ 3 ศึกษาศักยภาพการดูดซับและการปลดปล่อยโพแทสเซียมของชุดดินต่างๆ สำหรับใช้ในการประเมินการใช้ปุ๋ยโพแทชอย่างแม่นยำเฉพาะพื้นที่มี 2 การทดลอง ได้ข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับและการปลดปล่อยโพแทสเซียมและคำแนะนำปริมาณความต้องการของปุ๋ยโพแทชจากสมการคาดคะเน 8 ชุดดิน คำแนะนำปุ๋ยโพแทชสำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 1 ชุดดิน กิจกรรมที่ 4 ศึกษาศักยภาพการดูดซับและการปลดปล่อยจุลธาตุ ของดินกลุ่มต่างๆ เพื่อประเมินการใช้ปุ๋ยจุลธาตุเฉพาะพื้นที่มี 2 การทดลอง ได้ข้อมูลค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับและการปลดปล่อยจุลธาตุและคำแนะนำปริมาณความต้องการของปุ๋ยจุลธาตุจากสมการคาดคะเน 4 ชุดดิน คำแนะนำปุ๋ยจุลธาตุสำหรับมันสำปะหลังและสับปะรด 1 ชุดดิน และกิจกรรมที่ 5 การจัดการดิน น้ำ พืช ที่เป็นปัญหาในพื้นที่การเกษตรมี 3 การทดลอง ได้ข้อมูลการปนเปื้อนโลหะหนักในดิน พืช และคุณภาพดินในแหล่งปลูกมันสำปะหลัง 5 จังหวัด และข้าวโพดฝักอ่อน 2 จังหวัด แนวทางการปรับปรุงแก้ไขการปนเปื้อนแคดเมียมในดิน 1 วิธี และข้อมูลการแพร่กระจายและสะสมแคดเมียมและตะกั่ว 1 พื้นที่

โครงการวิจัยที่ 2 : การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เคมีและจุลินทรีย์ย่อยสลายทางการเกษตร
ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง, พีรพงษ์ เชาวนพงษ์, สุปรานี มั่นหมาย, อัจฉรา นันทกิจ, สุภาพร ธรรมสุระกุล, ภาวนา ลิกขนานนท์, สมบูรณ์ ประภาพรรณพงศ์, ศิริลักษณ์ จิตรอักษร, ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต, ประไพ ทองระอา, ศรีสุดา รื่นเจริญ, ลาวัลย์ จันทร์อัมพร, รัฐกร สืบคำ, ทิวาพร ผดุง, ธูปหอม พิเนตรเสถียร, นิศารัตน์ ทวีนุต, มณฑิกานธิ์ สังข์น้อย, ศฬิษา สังวิเศษ, กัลยกร โปร่งจันทึก, อธิปัตย์ คลังบุญครอง, มนต์ชัย มนัสสิลา และอำนาจ เอี่ยมวิจารณ์

          โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและตรวจวิเคราะห์ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ และจุลินทรีย์ย่อยสลายทางการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเทคโนโลยีการผลิตและตรวจวิเคราะห์ปุ๋ยชีวภาพ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์เคมีให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งการหาจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายสารอินทรีย์เพื่อการจัดการดินโดยดำเนินการระหว่างปี 2554 - 2558 ทั้งในห้องปฏิบัติการเรือนทดลองและแปลงทดลอง วิธีการดำเนินงานประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก กิจกรรมที่ 1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพกิจกรรมที่ 2 การพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ปุ๋ยชีวภาพของประเทศไทยกิจกรรมที่ 3 การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์เคมีและกิจกรรมที่ 4 การวิจัยและพัฒนาจุลินทรีย์ย่อยสลาย สารอินทรีย์ในการจัดการดิน ผลการทดลองพบว่า กิจกรรมที่ 1 ได้วิธีการผลิตปุ๋ยชีวภาพ 6 วิธี กิจกรรมที่ 2 พัฒนาวิธีวิเคราะห์ปุ๋ยชีวภาพได้ 4 ชนิด กิจกรรมที่ 3 ได้เทคนิคในการผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ทั้งชนิดแข็งและชนิดที่เป็นของเหลว 3 แบบ และกิจกรรมที่ 4 ได้ข้อมูลในการใช้จุลินทรีย์ในการจัดการดิน 2 รูปแบบ ผลการวิจัยในโครงการวิจัยสามารถน้าไปใช้ในการพัฒนาการผลิตและการวิเคราะห์ปุ๋ยชีวภาพให้มีมาตรฐาน รวมทั้งได้วิธีการพัฒนาปรับปรุงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ อินทรีย์เคมี และการจัดการดินทางชีวภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตพืช

โครงการวิจัยที่ 3 : การพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
จิติมา ยถาภูธานนท์ และคณะ
สำนักผู้เชี่ยวชาญ, กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 - 8 

          ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรของกรมวิชาการเกษตรทั้งส่วนกลาง กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และส่วนภูมิภาค สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรทั้ง 8 เขต ได้ทำการพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์คุณภาพปัจจัยการผลิตของห้องปฏิบัติการ ระหว่างปี 2554 – 2558 โดยมีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการให้ได้รับการรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 : 2005 เพื่อยกระดับมาตรฐานการวิเคราะห์ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน และเทียบเท่าสากล ส่งผลให้ผลการวิเคราะห์มีความถูกต้อง แม่นยำ สร้างความเชื่อมั่นและเป็นที่เชื่อถือของผู้ใช้บริการทำการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตร พืช ดิน สารธรรมชาติ เพื่อพิสูจน์ยืนยันคุณลักษณะเฉพาะของวิธีวิเคราะห์ว่าวิธีวิเคราะห์นี้มีความถูกต้อง แม่นยำ มีความน่าเชื่อถือ สามารถอ้างอิงได้ตามมาตรฐานสากล ประเมินผลด้วยวิธีทางสถิติโดยศึกษาหาความแม่นของการวัด (Accuracy) ประเมินด้วย ค่าเปอร์เซ็นต์การคืนกลับที่ 98 – 102ความเที่ยง (Precision) ประเมินด้วย ค่า HORRAT ที่น้อยกว่า 2 วัดปริมาณต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ (Limit of detection, LOD) วัดปริมาณต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์และรายงานผลได้ (Limit of quantitation, LOQ) วัดช่วงความเป็นเส้นตรงของกราฟมาตรฐานของวิธีวิเคราะห์ (Range) วัดช่วงความเป็นเส้นตรงของกราฟมาตรฐานที่จะนำมาใช้งาน (Linearity) ประเมินด้วยค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจที่มากกว่า 0.995 ผลการประเมินพบว่า ค่าที่ได้ทั้งหมดของวิธีวิเคราะห์ปัจจัยการผลิตผ่านเกณฑ์การยอมรับตามมาตรฐานสากลแสดงว่าวิธีวิเคราะห์ปุ๋ย และวิธีวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตร พืช ดิน สารธรรมชาติ ที่ห้องปฏิบัติการทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรทั้ง 8 เขต ใช้อยู่มีความมีความถูกต้อง แม่นยำ สามารถนำไปใช้เป็นวิธีมาตรฐานของห้องปฏิบัติการ และผลสำเร็จของผลงานวิจัยในโครงการ สามารถนำไปขยายผล ใช้เป็นข้อก้าหนดที่สำคัญทางดำนวิชาการที่ทำให้ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ปุ๋ยเคมี และผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตร ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตร ได้รับการรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025: 2005 ส่งผลให้การตรวจวิเคราะห์เพื่อควบคุมคุณภาพของห้องปฏิบัติการมีความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ สร้างความเชื่อมั่นและลดข้อโต้แย้งของผลวิเคราะห์ ที่ใช้ประกอบการดำเนินคดีตามกฎหมาย เพื่อรองรับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ทำให้เกษตรกรได้ใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ

          สรุปในภาพรวมของโครงการพบว่า วิธีวิเคราะห์ปุ๋ยที่ได้พัฒนาและผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี 42 วิธี วิธีวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี 36 วิธี วิธีวิเคราะห์พืชที่ได้พัฒนาและผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี 10 วิธี วิธีวิเคราะห์ดินที่ได้พัฒนาในระบบคุณภาพและผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี 6 วิธี วิธีวิเคราะห์สารสกัดจากพืชที่ผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี 2 วิธี ได้วัสดุอ้างอิงภายใน 2 ชุด ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์อ้างอิงภายใน ดินอ้างอิงภายใน ที่ใช้ควบคุมคุณภาพผลวิเคราะห์ทั้งภายในและภายนอกห้องปฏิบัติการผ่านกิจกรรมเปรียบเทียบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดินอีก 1 กิจกรรม ได้วิธีวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโกปี (NIRS) ที่ให้ผลวิเคราะห์รวดเร็วทราบผลภายใน 1 - 2 นาที แม่นยำตามมาตรฐานสากล น่าเชื่อถือ ปลอดภัยจากสารเคมี และรักษาสิ่งแวดล้อม 5 วิธี ได้แก่ วิธีประเมินปริมาณอินทรียวัตถุในปุ๋ยอินทรีย์โปรตีนในถั่วเหลืองสมบัติทางเคมีและทางกายภาพในดิน และปริมาณน้ำในผลิตภัณฑ์สารปูองกันและก้าจัดศัตรูพืช ได้วิธีวิเคราะห์อย่างง่าย เพื่อใช้ในระบบการผลิตพืช 2 ชุด ได้แก่ ชุดตรวจสอบความต้องการปูนของดินและชุดตรวจสอบอินทรียวัตถุของดินผลสำเร็จของงานวิจัยด้านฐานข้อมูลพบว่า ได้ข้อมูลด้านประเมินศักยภาพคุณภาพและการจัดการองค์ความรู้เพื่อให้บริการด้านดิน น้ำ ปุ๋ย สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช 6 ชุด ได้แก่ 1) คุณภาพน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำ และน้ำบาดาลที่ใช้ในทางการเกษตรบริเวณเขตภาคกลางส่วนใหญ่มีคุณภาพดีถึงดีมาก มีปริมาณเกลือและแร่ธาตุ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถใช้รดพืชทั่วไปได้ 2) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการคงสภาพในการเก็บรักษาสารควบคุมการเจริญเติบโตพืช paclobutrazol, gibberellic acid และ ethephon พบว่า การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 24 เดือน ทำให้สารควบคุมการเจริญเติบโตพืชทุกชนิดและทุกสูตรความเข้มข้นมีความคงสภาพดี เปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ 3) ได้โปรแกรมค้านวณอัตโนมัติเพื่อพิสูจน์ปุ๋ยปลอม ปุ๋ยผิดมาตรฐานของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ 4) จากการสำรวจและศึกษาขนาดอนุภาคและความแข็งของเม็ดปุ๋ยของแม่ปุ๋ยนำเข้า และข้อมูลสารตัวเติมจากแหล่งต่างๆ ที่จะใช้ในการผลิตปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยพบว่า ตัวอย่างแม่ปุ๋ยที่สุ่มเก็บจากท้องตลาดของภาคต่างๆ บางส่วนมีลักษณะทางกายภาพไม่ผ่านตามเกณฑ์การคัดเลือกวัตถุดิบสำหรับผลิตปุ๋ยผสมแบบคลุกเคล้า 5) ความสัมพันธ์ของค่าความเป็นกรด - ด่าง และค่าการนำไฟฟูาที่มีต่อดัชนีการงอกในปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อหาค่าความเป็นกรดด่าง และค่าการนำไฟฟูาที่เหมาะสมต่อปุ๋ยอินทรีย์ 6) ได้สมการที่ใช้ทำนายค่าดัชนีการงอกในปุ๋ยอินทรีย์ ข้อมูลด้านประเมินคุณภาพปัจจัยการผลิตนี้เพื่อให้บริการกับเกษตรกรและผู้ประกอบการ ได้ใช้และผลิตปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานของปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

โครงการวิจัยที่ 4 : การสร้างนวัตกรรมสนับสนุนด้านการวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ, ณัฏฐ์ชยธร ขัตติยะพุฒิเมธ และยงยุทธ ไผ่แก้ว
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3

          ศึกษาวิธีการตรวจวิเคราะห์รวมสารตกค้างอีไธออน คลอไพริฟอส และโอเมทโธเอทในผักผลไม้โดยวิธีทินเลเยอร์โครมาโตกราฟฟี่ (Thin layer chromatography, TLC) ที่สามารถตรวจครั้งเดียวได้พร้อมกัน 3 สาร โดยนำแผ่นตรวจสอบของชุดตรวจสอบของสารพิษที่คิดขึ้นมาในปี 2554 มาประยุกต์ใช้แต่มาปรับเปลี่ยนระบบแยกสารใหม่ โดยใช้ของเหลวที่เป็นตัวแยก 100 ระบบ คือ hexane : acetone อัตราส่วน 1-20:1, 1-20:2, 1-20:3, 1-20:4, 1-20:5 พบว่า ระบบที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้แยกสารพิษตกค้างรวมของอีไธออน คลอไพริฟอส และโอเมทโธเอทในผักผลไม้ คือ hexane : acetone อัตราส่วน 17 : 3 ให้จุดสีเหลืองบนพื้นสีส้ม โดยคลอไพริฟอส มีค่า Rf 0.6 (4.2 ซม) อีไธออน มีค่า Rf 0.44 (3.1 ซม) และโอเมทโธเอทมีค่า Rf 0.05 (0.4 ซม) , 0.12 (0.9 ซม), 0.21 (1.5 ซม), 0.47 (3.3 ซม) มี limit of determination คลอไพริฟอส 0.02 ppm อีไธออน 0.05 ppm และโอเมทโธเอท 0.25 ppm ชุดนี้มี % Recovery ของคลอไพริฟอส 83 - 88% มี % Recovery ของอีไธออน 80 - 85% มี % Recovery ของโอเมทโธเอท 80 - 85% ชุดตรวจสอบรวมที่ได้นี้ นำมาบรรจุในกล่องกระดาษหนัก 1 กิโลกรัม (คิดน้ำหนักหลังบรรจุขวดสกัดตัวอย่าง ขวดแยกสาร แผ่น Plate ที่ใช้แยก พร้อมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจ) เมื่อนำไปทดสอบภาคสนามที่แปลงเกษตรกรปลูกผักที่จังหวัดตาก ขอนแก่น และจันทบุรี แล้วนำผลมาเปรียบเทียบกับวิธี GC ปรากฏว่าได้ผลเป็นที่ยอมรับได้ ชุดตรวจสอบนี้สะดวกในการนำไปตรวจในแปลง GAP เพื่อการรับรองเบื้องต้นของกรมวิชาการเกษตร 1 ชุดสามารถตรวจได้ 24 ตัวอย่าง

โครงการวิจัยที่ 5 : การศึกษาความรุนแรงของผลกระทบและการเฝ้าระวังสารเคมีปูองกันกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษร้ายแรงหรือมีความคงทนในสภาพแวดล้อม
ผกาสินี คล้ายมาลา, จิราพรรณ ทองหยอด, อิสริยะ สืบพันธุ์ดี, ลมัย ชูเกียรติวัฒนา, วิสุทธิ เชวงศรี, พนิดา ไชยยันต์บูรณ์, สมสมัย ปาลกูล, ยงยุทธ ไผ่แก้ว, จินตนา ภู่มงกุฎชัย, ศศิมา มั่งนิมิตร์, ลักษมี เดชานุรักษ์นุกูล, ประชาธิปัตย์ พงษ์ภิญโญ, นงพงา โอลเสน, เนาวรัตน์ ตั้งมั่นคงวรกูล, เบญจมาศ ใจแก้ว, วัชราพร ศรีสว่างวงศ์, นาตยา จันทร์ส่อง, อิทธิพล บ้งพรม, เฉลิมพล เอี่ยมพลับ, สุวรรณี ศรีทองอินทร์, มณฑาทิพย์ อรุณวรากรณ์, กัญญารัตน์ เต็มปิยพล, เกษสิริ ฉันทพิริยะพูน, สาวิตรี เขมวงศ์, อรพิน หนูทอง, ภิญญา จุลินทร, วิภา ตั้งนิพนธ์, ปรีชา ฉัตรสันติประภา, มลิสา เวชยานนท์, ประกิจ จันทร์ติ๊บ, เอกราช สิทธิมงคล, สิริพร เหลืองสุชนกุล และปภัสรา คุณเลิศ

          โครงการวิจัย การศึกษาความรุนแรงของผลกระทบและการเฝ้าระวังสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษร้ายแรงหรือมีความคงทนในสภาพแวดล้อม ได้ดำเนินการวิจัยระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2558 ผลการดำเนินงานวิจัยของโครงการพบว่า สถานการณ์ความรุนแรงของการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชต้องมีการเฝ้าระวังการใช้อย่างต่อเนื่อง สรุปผลงานวิจัยใน 4 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 งานวิจัยการตรวจสอบผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายและผลิตภัณฑ์สารธรรมชาติที่วางจำหน่ายในท้องตลาด เพื่อควบคุมคุณภาพปริมาณสารออกฤทธิ์ให้ตรงกับปริมาณที่ระบุไว้บนฉลากพบเปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์ และคุณสมบัติทางกายภาพ ในสูตรต่างๆ ของแต่ละชนิดผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ในมาตรฐาน แต่ยังตรวจพบผลิตภัณฑ์ที่ผิดจากมาตรฐาน และผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมคุณภาพกิจกรรมที่ 2 งานวิจัยการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในพืชผัก ผลไม้ มีการเก็บตัวอย่างผลผลิตในกลุ่มพืชหลายชนิด และตัวอย่างในระบบปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice, GAP) ในพื้นที่ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 1 - 8 ผลผลิตที่พบสารพิษตกค้างควรระมัดระวังในการบริโภคสด ผักและผลไม้ส่วนใหญ่พบปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในช่วงที่ต่ำกว่าค่าปริมาณสูงสุดที่ยอมให้มีได้ในพืชอาหาร (Maximum residue limits, MRLs) ส่วนสารที่พบเกินค่า MRL ต้องให้ความสำคัญในการตรวจเฝ้าระวังต่อไป กิจกรรมที่ 3 การสะสมและการแพร่กระจายสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม เป็นการศึกษาการเคลื่อนย้ายของสารพิษตกค้างที่ตรวจพบในน้ำผิวดิน ดิน ตะกอน และสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำผิวดิน สารกำจัดวัชพืชที่มีศักยภาพบางชนิดเคลื่อนย้ายสู่น้ำแหล่งน้ำใต้ดินได้ การตรวจพบระดับของสารตกค้างจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่เกษตรกรรมสามารถน้าไปใช้คาดการณ์ปริมาณสารพิษตกค้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากสารตกค้างในพื้นที่ซึ่งยากที่จะตรวจสอบและประมาณได้ กิจกรรมที่ 4 การศึกษาปัญหาและความรุนแรงของผลกระทบจากการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช จากงานวิจัยการประเมินความเสี่ยงจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม การประเมินใช้การบ่งชี้ความเป็นอันตรายตามน้ำหนักของหลักฐาน (Weight of Evidence) ที่รวบรวมข้อมูลจากการทดลองพบว่า เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสารจากการใช้สาร ระดับของความเสี่ยงอยู่ระหว่างระดับที่ยอมรับได้ (Accept) ถึงระดับเสี่ยง (Risk) รวมทั้งตรวจพบสารพิษตกค้างในผลผลิต ดิน น้ำ ตะกอน และสัตว์น้ำบริเวณแปลงทดลอง

โครงการวิจัยที่ 6 : การศึกษาเพื่อการก้าหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง (MRL)
ประภัสสรา พิมพ์พันธุ์, วิสุทธิ เชวงศรี, ยงยุทธ ไผ่แก้ว, สมสมัย ปาลกูล, ลมัย ชูเกียรติวัฒนา, จินตนา ภู่มงกุฎชัย, พนิดา ไชยยันต์บูรณ์, ศศิมา มั่งนิมิตร์, ประชาธิปัตย์ พงษ์ภิญโญ, ลักษมี เดชานุรักษ์นุกูล, ปิยะศักดิ์ อรรคบุตร, วิทยา บัวศรี, วิษณุ แจ้งใบ, วะนิดา สุขประเสริฐ, ชนิตา ทองแซม, บุญทวีศักดิ์ บุญทวี, วีระสิงห์ แสงวรรณ และพรนภัส วิชานนะณานนท์

          หลายประเทศมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดในการน้ำเข้าสินค้าเกษตรเพื่อใช้เป็นข้อกำหนดมาตรฐานสินค้าอาหารและใช้เพื่อกีดกันทางการค้า กรมวิชาการเกษตร ในฐานะที่รับผิดชอบดำนการผลิตพืช และการควบคุมคุณภาพสินค้าพืชที่ผลิตเพื่อการค้าทั้งในและต่างประเทศ จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลการปนเปื้อนจากสารพิษต่างๆ ในพืช เพื่อใช้เป็นเกณฑ์วัดคุณภาพสินค้าเกษตรตามหลักสุขอนามัย ดังนั้นข้อมูลสารพิษตกค้างจึงมีความสำคัญมากวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการสลายตัวของสารพิษตกค้างในผลิตผลเกษตรที่เป็นพืชส่งออกสำคัญ โดยน้ำข้อมูลที่ได้ร่วมพิจารณากำหนดค่า MRL ของประเทศไทย และน้ำเสนอเป็นค่า ASEAN MRL และ Codex MRLการศึกษาการสลายตัวของสารพิษตกค้างเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุด ได้ดำเนินการศึกษาในแปลงทดลองตามหลักเกณฑ์ของโคเด็กซ์ (Codex Guidelines) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล โดยใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรตามหลักการเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice; GAP) และเก็บผลผลิตในระยะเวลาต่างๆ หลังการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรครั้งสุดทำยเพื่อศึกษาการสลายตัวของสารพิษและกำหนดระยะเก็บเกี่ยวผลิตผลที่ปลอดภัยโครงการวิจัยนี้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2554 - 2558 เป็นเวลา 5 ปี มีทั้งหมด 22 การทดลอง โดยกิจกรรมที่ 1 ศึกษาการสลายตัวของสารพิษตกค้างในผลไม้มี 7 การทดลอง ทำให้ได้ข้อมูลการสลายตัวของ methidathion ในส้มเขียวหวาน, ethion ในส้มเขียวหวาน, abamectin ในองุ่น profenofos ในส้มโอ, fipronil ในองุ่น, abamectin ในส้มเขียวหวาน, lambda cyhalothrin ในส้มเขียวหวานรวม 30 ชุดข้อมูล และกิจกรรมที่ 2 ศึกษาการสลายตัวของสารพิษตกค้างในผักมี 15 การทดลอง ได้ข้อมูลการสลายตัวของ chlorpyrifos ในถั่วเหลืองฝักสด, profenofos ในถั่วเหลืองฝักสด, fipronil ในถั่วฝักยาว, dimethoate ในถั่วฝักยาว, prothiophos ในมะเขือยาว, carbosulfan ในมะเขือยาว, omethoate ในถั่วเหลืองฝักสด fipronil ในมะเขือ, buprofezin ในมะเขือ, indoxacarb ในคะน้า, lambda cyhalothrin ในคะน้า, indoxacarb ในถั่วฝักยาว, carbosulfan ในถั่วฝักยาว, spiromesifen ในกะเพรา, fipronil ในคะน้า, รวมทั้งสิ้น 72 ชุดข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์สามารถกำหนดระยะเก็บเกี่ยวที่ปลอดภัย (Pre Harvest Interval: PHI) ในการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตร ได้ 22 ค่า และเสนอกำหนดเป็นค่า Asean MRL แล้ว ได้แก่ carbosulfan ในมะเขือ, dimethoate ในถั่วฝักยาว, lambda cyhalothrin ในคะน้า, สำหรับการเสนอกำหนดค่า Codex MRL จะเสนอตามแผนการพิจารณาของคณะกรรมการโคเด็กซ์สาขาสารพิษตกค้างในแต่ละปีต่อไป

โครงการวิจัยที่ 7 : การพัฒนาการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างของวัตถุอันตรายทางการเกษตรให้ถูกต้อง แม่นยำตามมาตรฐานสากล
พนิดา ไชยยันต์บูรณ์, กัญญารัตน์ เต็มปิยพล, เกษสิริ ฉันทพิริยะพูน, นาตยา จันทร์ส่อง, ผกาสินี คล้ายมาลา, พรศิริ สายะพันธ์, มณฑาทิพย์ อรุณวรากรณ์, มลิสา เวชยานนท์, วัชราพร ศรีสว่างวงศ์, ขนิษฐา วงษ์นิกร, จันทิมา ผลกอง, จินตนา ภู่มงกุฏชัย, จินตนา แสนทวีสุข, ชนิตา ทองแซม, ดาวนภา ช่องวารินทร์, เบญจมาศ ใจแก้ว, ปฏิมาภรณ์ สังข์น้อย, ปภัสรา คุณเลิศ, ประภัสสรา พิมพ์พันธุ์, ประไพ หงษา, ปริยานุช สายสุพรรณ์, ลักษมี เดชานุรักษ์นุกูล, วะนิดา สุขประเสริฐ, วิสุทธิ เชวงศรี, ศศิมา มั่งนิมิตร์, สิริพร เหลืองสุชนกุล, สุธินี สาลีลัง, สุพัตรี หนูสังข์, จารุพงศ์ ประสพสุข, นพดล มะโนเย็น, บุญทวีศักดิ์ บุญทวี, ประกิจ จันทร์ติ๊บ, ประชาธิปัตย์ พงษ์ภิญโญ, ปิยะศักดิ์ อรรคบุตร, ยงยุทธ ไผ่แก้ว, วิทยา บัวศรี, วิษณุ แจ้งใบ, วีระสิงห์ แสงวรรณ, สมชาย ฉันทพิริยะพูน และอิทธิพล บ้งพรม

          โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างของวัตถุอันตรายทางการเกษตรให้ถูกต้อง แม่นยำตามมาตรฐานสากล มี 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่1 : การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้าง และกิจกรรมที่ 2 : การพัฒนาสมรรถนะการให้บริการของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างการดำเนินงานของกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1.1 :การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารตกค้างในดินและน้ำ มีดังนี้ ศึกษาวิธีการตรวจวิเคราะห์ในตัวอย่างน้ำศึกษาสารกลุ่ม organophosphorus, organochlorine carbamate, pyrethroid, benzimidazole และ 2,4-D ส่วนวิธีการตรวจวิเคราะห์ในตัวอย่างดิน ศึกษาสารกลุ่ม organophosphorus, organochlorine และ pyrethroid, glyphosate, 2,4-D และ phenylurea ส่วนการดำเนินงานกิจกรรมที่ 1.2 : การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักและผลไม้ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ศึกษาพืชที่มีปัญหาและมีสิ่งปนเปื้อนสูง ศึกษาในตัวอย่าง มังคุดพืชสมุนไพร (โหระพาและสะระแหน่) พืชตระกูลส้ม (citrus fruits) พืชน้ำมัน (ถั่วเหลือง) ชะอม ทุเรียน หอมแดง มะพร้าว และพริกกลุ่มที่ 2 ศึกษาสารที่มีความยุ่งยากศึกษาสาร spinetoram และ สารอนุพันธ์ neonicotinoid, chlormequat, mepiquat, captan, folpet, chlorothalonil, dithiocarbamate , pyrazole, phenylurea, fipronil และ pymetrozine กลุ่มที่ 3 ศึกษาเพื่อขอการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ศึกษาสารกลุ่ม organophosphorus, organochlorines, pyrethroids และ carbamate และสาร 99 ชนิด เพื่อขยายขอบข่ายวิธีวิเคราะห์ QuEChERs และใช้เป็น screening method และกลุ่มที่ 4 ศึกษาเพื่อใช้เป็นข้อมูลในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การศึกษาความคงตัว (Stability) ในการเก็บรักษา สารมาตรฐานกลุ่ม organophosphorus, pyrethroid, carbamate, abamectin และกลุ่ม fungicide ส่วนการทดลองอื่นๆ ได้แก่ การพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักโดยใช้ GC/MS โดยใช้ Database ในการ screening ชนิดของสารในตัวอย่าง และการศึกษาประสิทธิภาพของการสกัดสารพิษตกค้างกลุ่ม pyrethroid และ organophosphorus ในผักผลไม้ด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆ เพื่อศึกษาผลของ matrix

          การดำเนินงานในกิจกรรมที่ 2 : การพัฒนาสมรรถนะการให้บริการของห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างดำเนินการทดสอบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการของการตรวจวิเคราะห์สารกลุ่ม organophosphorus, organochlorine, pyrethroid และ carbamate ในตัวอย่าง น้ำ ผัก และผลไม้ โดยจัดทำโปรแกรมการทดสอบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการ ในช่วง 2554 - 2558 โดยมีห้องปฏิบัติการที่เข้าร่วมโปรแกรมการทดสอบ 15 - 22 ห้องปฏิบัติการ เป็นห้องปฏิบัติการของกรมวิชาการเกษตรส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และห้องปฏิบัติการภาคเอกชนโดยใช้ Z-score ในการประเมินผล


ไฟล์แนบ
.pdf   229_2558.pdf (ขนาด: 2.54 MB / ดาวน์โหลด: 3,255)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม