การเปรียบเทียบในท้องถิ่นพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุยาวพันธุ์ดีเด่นทนทานแล้ง
#1
การเปรียบเทียบในท้องถิ่นพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุยาวพันธุ์ดีเด่นทนทานแล้ง
ทัศนีย์ บุตรทอง, สุริพัฒน์ ไทยเทศ, พิเชษฐ์ กรุดลอยมา, สุทัศนีย์ วงศ์ศุปไทย, จำนงค์ ชัญถาวร, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, อานนท์ มลิพันธุ์, สายชล แสงแก้ว, อารีรัตน์ พระเพ็ชร, พินิจ กัลยาศิลปิน และปรีชา แสงโสดา
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์, สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน, ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปราจีนบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย

          ดำเนินการเปรียบเทียบในท้องถิ่นพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุยาวพันธุ์ดีเด่นทนทานแล้ง สามารถเก็บเกี่ยวที่อายุ 115 - 120 วัน จำนวน 20 พันธุ์ โดยมีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 3 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block (RCB) 4 ซ้ำ 4 แถวต่อแปลงย่อย แถวยาว 5 เมตร ใช้ระยะปลูก 75 x 20 เซนติเมตร เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2556 - 2557 ผลการทดลองพบว่า ลักษณะผลผลิตมีความแตกต่างทางพันธุกรรมในแต่ละสภาพแวดล้อม และมีปฏิกิริยาสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม โดยในปี 2556 จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมในลักษณะผลผลิตจาก 8 สภาพแวดล้อม พบว่ามีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ NK 48 NSX 052014 และ NSX 042007 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 (1,099 กิโลกรัม/ไร่) อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) คิดเป็นร้อยละ 13 9 และ 6 ตามลำดับ ในจำนวนนี้พันธุ์ NSX 052014 และ NSX 042007 นอกจากให้ผลผลิตสูงแล้ว ยังมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดี สามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งปลูกข้าวโพดของประเทศไทย ซึ่งพันธุ์เหล่านี้มีค่าสัมประสิทธิ์รีเกรสชั่น (b) เท่ากับ 0.93 และ 1.20 และมีค่าเบี่ยงเบนจากเส้นรีเกรสชั่นเส้นตรง (S2d ) เท่ากับ 5633.1 และ 6433.1 ในปี 2557 จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมในลักษณะผลผลิตจาก 8 สภาพแวดล้อม พบว่า มีเพียงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ NSX 052014 และ NSX 112013 ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 (1,149 กิโลกรัม/ไร่) อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) คิดเป็นร้อยละ 13 และ 10 ตามลำดับ นอกจากนี้พันธุ์ NSX 112013 นอกจากให้ผลผลิตสูงแล้ว ยังมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดี สามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งปลูกข้าวโพดของประเทศไทย ซึ่งพันธุ์เหล่านี้มีค่าสัมประสิทธิ์รีเกรสชั่น (b) เท่ากับ 1.13 และมีค่าเบี่ยงเบนจากเส้นรีเกรสชั่นเส้นตรง (S2d ) เท่ากับ 5182.2 เมื่อพิจารณาจากการทดลองตั้งแต่ปี 2556 - 2557 พบว่า สามารถคัดเลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุยาวจำนวน 15 พันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 ได้แก่ พันธุ์ NSX 042007 NSX 052014 NSX 052015 NSX 102003 NSX 102005 NSX 112006 NSX 112009 NSX 112010 NSX 112011 NSX 112013 NSX 112015 NSX 112017 NSX 112019 NSX 112026 และ NSX 112029 ซึ่งจะคัดเลือกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เหล่านี้เพื่อนำไปประเมินผลผลิตในขั้นตอนการเปรียบเทียบพันธุ์ในไร่เกษตรกร ประเมินความทนทานแล้ง และการยอมรับของเกษตรเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการขอรับรองพันธุ์และแนะนำเกษตรกรต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   64_2557.pdf (ขนาด: 257.19 KB / ดาวน์โหลด: 471)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม