ทดสอบการใช้ปุ๋ยเคมีตามลักษณะเนื้อดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดนครสวรรค
#1
ทดสอบการใช้ปุ๋ยเคมีตามลักษณะเนื้อดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดนครสวรรค์
สุจิตร ใจจิตร, วีระพงษ์ เย็นอ่วม, วีรรัช ชีพธำรง และจรรยา สมพมิตร
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์ 

          การทดสอบการใช้ปุ๋ยเคมีตามลักษณะเนื้อดินที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ของเกษตรกรที่มักประสบปัญหาความแห้งแล้งเนื่องจากสภาวะฝนทิ้งช่วง ในเขตพื้นที่อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสรรค์ จำนวน 5 ราย รายละ 2 ไร่ รวมทั้งสิ้น 10 ไร่ แปลงทดสอบทั้งหมดมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย กรรมวิธีที่นำเข้าไปทดสอบมี 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีเกษตรกร คือ การใส่ปุ๋ยตามที่เกษตรกรเคยปฏิบัติ และกรรมวิธีทดสอบ คือ การใส่ปุ๋ยตามลักษณะเนื้อดินที่กรมวิชาการเกษตรกรแนะนำ  ผลการทดสอบพบว่า ผลผลิต ต้นทุนผันแปร รายได้สุทธิ และผลตอบแทนสุทธิ มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากกรรมวิธีทดสอบ มีผลผลิตเฉลี่ย 993 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกรที่มีผลผลิตเฉลี่ย  838 กิโลกรัม/ไร่ หรือคิดเป็น 25.18 % ส่วนต้นทุนผันแปร พบว่า กรรมวิธีทดสอบมีต้นทุนผันแปรเฉลี่ยเท่ากับ 3,343 บาท/ไร่ ต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ที่มีต้นทุนผันแปร เท่ากับ 3,688 บาท/ไร่ คิดเป็น 10.9 % เนื่องจากกรรมวิธีเกษตรกรมีต้นทุนจากการซื้อปุ๋ยสูตรและฮอร์โมนพืชมากกว่าการใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีทดสอบ โดยที่รายได้ของกรรมวิธีทดสอบ มีรายได้เฉลี่ย 9,029 บาท/ไร่ สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 7,639 บาท/ไร่ คิดเป็น 22.06 % ส่งผลให้กรรมวิธีทดสอบมีผลตอบแทนสุทธิ 5,686 บาท/ไร่ สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรที่มีผลตอบแทนสุทธิ 3,950 บาท/ไร่ คิดเป็น 52.83 % และเมื่อพิจารณาอัตราส่วนของผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย (BCR) พบว่า  กรรมวิธีทดสอบมีค่า BCR เท่ากับ 2.38 สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรมีค่า BCR เท่ากับ 1.75 ทั้งกรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกรมีค่า BCR มากกว่า 1 แสดงว่าเกษตรกรสามารถนำแนวทางการปฏิบัติได้ แต่กรรมวิธีทดสอบมีค่าความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร


ไฟล์แนบ
.pdf   68_2557.pdf (ขนาด: 253.08 KB / ดาวน์โหลด: 611)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม