การศึกษาสถานการณ์การผลิต การตลาด และเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง
#1
การศึกษาสถานการณ์การผลิต การตลาด และเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลือง
รัศมี สิมมา, ปิยะรัตน์ จังพล, ญาณี โปธาดี และณัฎฐนิชา มีสูงเนิน
สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

          การศึกษาสถานการณ์ การผลิต การตลาด และเทคโนโลยีการผลิตถั่วเหลืองของเกษตรกรในพื้นที่ปลูกถั่วเหลืองสำคัญของประเทศไทย 11 จังหวัด มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกชนิดการปลูกพืชของเกษตรกร ในกรณีที่มีโอกาสเลือกพืชได้หลายชนิด และใช้ประกอบการพิจารณาหาแนวทางลดต้นทุนการผลิตถั่วเหลืองต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ในปีเพาะปลูก 2554/2555 เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ มีต้นทุนการผลิตถั่วเหลืองสูงที่สุด คือ 3,910 บาทต่อไร่ รองลงมา คือ จังหวัดสุโขทัย มีต้นทุนการผลิตถั่วเหลือง 3,058 บาทต่อไร่ เกษตรกรจังหวัด สุโขทัย ได้กำไรจากการปลูกถั่วเหลืองสูงที่สุดเท่ากับ 1,355 บาทต่อไร่ รองลงมา คือ เกษตรกรจังหวัดขอนแก่นได้กำไร 1,063 บาทต่อไร่ และเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ ได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 342 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ เกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ได้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 287 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนผันแปร เกษตรกรใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ค่าแรงงานเก็บเกี่ยวเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 29.15 ของต้นทุนทั้งหมด รองลงมา คือ ค่าเมล็ดพันธุ์เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 22.99 ของต้นทุนทั้งหมด และอันดับสาม คือ ค่าไถเตรียมดินเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 16.57 ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนคงที่ เกษตรกรใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ค่าเช่าที่ดินคิดเป็นร้อยละ 14.00 ของต้นทุนทั้งหมด รองลงมา คือ ค่าเสื่อมราคาเครื่องมืออุปกรณ์คิดเป็นร้อยละ 7.83 ของต้นทุนทั้งหมด

          ในปีเพาะปลูก 2555/2556 เกษตรกรจังหวัดแพร่มีต้นทุนการผลิตถั่วเหลืองสูงที่สุด คือ 4,395 บาทต่อไร่ รองลงมา คือ จังหวัดเชียงใหม่ มีต้นทุนการผลิตถั่วเหลือง 3,909 บาทต่อไร่ เกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้กำไรจากการปลูกถั่วเหลืองสูงที่สุดเท่ากับ 2,666 บาทต่อไร่ รองลงมา คือ เกษตรกรจังหวัดแพร่ ได้กำไร 1,360 บาทต่อไร่ และเกษตรกรจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 325 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ เกษตรกรจังหวัดแพร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 275 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนผันแปร เกษตรกรใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ค่าแรงงานเก็บเกี่ยวเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 24.40 ของต้นทุนทั้งหมด รองลงมาคือค่าเมล็ดพันธุ์เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 20.15 ของต้นทุนทั้งหมด และอันดับสาม คือ ค่าไถเตรียมดินเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 19.48 ของต้นทุนทั้งหมด  ต้นทุนคงที่ เกษตรกรใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ค่าเช่าที่ดินคิดเป็นร้อยละ 7.39 ของต้นทุนทั้งหมด รองลงมา คือ ค่าเสื่อมราคาเครื่องมืออุปกรณ์คิดเป็นร้อยละ 9.05 ของต้นทุนทั้งหมด

          ในปีเพาะปลูก 2556/2557 เกษตรกรจังหวัดสุโขทัย มีต้นทุนการผลิตถั่วเหลืองสูงที่สุด คือ 4,362 บาทต่อไร่ รองลงมา คือ จังหวัดเชียงใหม่ มีต้นทุนการผลิตถั่วเหลือง 3,452 บาทต่อไร่ เกษตรกรจังหวัดเชียงราย ได้กำไรจากการปลูกถั่วเหลืองสูงที่สุดเท่ากับ 3,312 บาทต่อไร่ รองลงมา คือ เกษตรกรจังหวัด ชัยภูมิได้กำไร 2,116 บาทต่อไร่ และเกษตรกรจังหวัดสุโขทัย ได้ผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 287 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา คือ เกษตรกรจังหวัดชัยภูมิได้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ 280 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนผันแปร เกษตรกรใช้มากเป็นอันดับหนึ่งคือค่าแรงงานเก็บเกี่ยวเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 26.20 ของต้นทุนทั้งหมด รองลงมาคือค่าเมล็ดพันธุ์เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 22.87 ของต้นทุนทั้งหมด และอันดับสาม คือ ค่าแรงงานปลูกเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 18.09 ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนคงที่ เกษตรกรใช้มากเป็นอันดับหนึ่ง คือ ค่าเช่าที่ดินคิดเป็นร้อยละ 15.81% ของต้นทุนทั้งหมด


ไฟล์แนบ
.pdf   76_2557.pdf (ขนาด: 1.41 MB / ดาวน์โหลด: 1,439)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม