การปรับปรุงพันธุ์งาดำเพื่อผลผลิตสูง : การเปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน
#1
การปรับปรุงพันธุ์งาดำเพื่อผลผลิตสูง : การเปรียบเทียบพันธุ์มาตรฐาน
ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์, สมใจ โควสุรัตน์, จุไรรัตน์ หวังเป็น, สมหมาย วังทอง และสมพงษ์ ชมภูนุกูลรัตน์

          คัดเลือกสายพันธุ์งาดำที่ผ่านการเปรียบเทียบเบื้องต้น ในปี 2556 จำนวน 13 สายพันธุ์ ปลูกเปรียบเทียบกับ สายพันธุ์ก้าวหน้า/พันธุ์รับรอง จำนวน 5 สายพันธุ์/พันธุ์ ในต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ต้นฤดูฝนปลูกทดลอง 8 กรกฎาคม 2557 เก็บเกี่ยว 10 - 21 ตุลาคม 2557 ผลการทดลองพบว่า สายพันธุ์ MKS-I-84001 ให้ผลผลิตสูงสุด 62.3 กก./ไร่ สายพันธุ์ BS54-17 มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด มากที่สุด 2.79 กรัม แต่ไม่แตกต่างกับอีก 8 สายพันธุ์/พันธุ์ ที่มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด อยู่ระหว่าง 2.76 - 2.53 กรัม พันธุ์อุบลราชธานี 3 มีจำนวนต้นต่อไร่มากที่สุด 34,507 ต้น ไม่แตกต่างกับ 13 สายพันธุ์/พันธุ์ ที่มีจำนวนต้นต่อไร่อยู่ระหว่าง 34,467 - 23,147 ต้น BS54-54 มีความสูงต้นสูงที่สุด 155 เซนติเมตร ไม่แตกต่างกับอีก 12 สายพันธุ์/พันธุ์ มีความสูงต้นอยู่ระหว่าง 152 - 135 เซนติเมตร สายพันธุ์ MKS-I-83042-1 มีจำนวนฝักต่อต้นมากที่สุด 36 ฝัก แต่ไม่แตกต่างกับอีก 9 สายพันธุ์/พันธุ์ ที่มีจำนวนฝักต่อต้นอยู่ระหว่าง 32 - 28 ฝัก จำนวนกิ่งต่อต้นมีตั้งแต่ 0 - 3 กิ่ง สายพันธุ์ BS54-03 มีจำนวนข้อที่ติดฝักมากที่สุด 36 ข้อ ส่วนปลายฤดูฝนปลูก 18 สิงหาคม 2557 เก็บเกี่ยว 10 - 14 พฤศจิกายน 2557 พบว่าสายพันธุ์ MKS-I-83042-1 ให้ผลผลิตสูงสุด 96.0 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างกับอีก 10 สายพันธุ์/พันธุ์ ที่ให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 88.0 - 59.2 กก./ไร่ สายพันธุ์ BS54-32 มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด มากที่สุด 2.89 กรัม แต่ไม่แตกต่างกับอีก 8 สายพันธุ์/พันธุ์ ที่มีน้ำหนัก 1,000 เมล็ด อยู่ระหว่าง 2.86 - 2.68 กรัม พันธุ์อุบลราชธานี 3 มีจำนวนต้นต่อไร่มากที่สุด 32,107 ต้น ไม่แตกต่างกับ 11 สายพันธุ์/พันธุ์ ที่มีมีจำนวนต้นต่อไร่อยู่ระหว่าง 31,093 - 22,080 ต้น สายพันธุ์ BS54-17 มีความสูงข้อแรกที่ติดฝักสูงที่สุด 94 เซนติเมตร แต่ไม่แตกต่างกับอีก 4 สายพันธุ์/พันธุ์ ที่มีความสูงข้อแรกที่ติดฝักอยู่ระหว่าง 91 - 82 เซนติเมตร สายพันธุ์ BS54-32 มีความสูงต้นสูงที่สุด 163 เซนติเมตร ไม่แตกต่างกับอีก 11 สายพันธุ์/พันธุ์ มีความสูงต้นอยู่ระหว่าง 160 - 139 เซนติเมตร สายพันธุ์ MKS-I-84001 มีจำนวนฝักต่อต้นมากที่สุด 37 ฝัก แต่ไม่แตกต่างกับอีก 2 สายพันธุ์ ที่มีจำนวนฝักต่อต้น 34 - 30 ฝัก จำนวนกิ่งต่อต้นมีตั้งแต่ 0 - 2 กิ่ง สายพันธุ์ BS54-05 มีจำนวนข้อที่ติดฝักมากที่สุด 31 ข้อ แต่ไม่แตกต่างกับอีก 3 สายพันธุ์/พันธุ์ ที่มีจำนวนข้อที่ติดฝัก 30 - 26 ข้อ เมื่อเฉลี่ยผลผลิตทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนพบว่า มี 10 สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 38.5 - 70.1 กก./ไร่ สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 3 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 38.1 กก./ไร่ โดยสายพันธุ์ MKS-I-84001 ให้ผลผลิตมากที่สุด 70.1 กก./ไร่ รองลงมา ได้แก่ สายพันธุ์ MKS-I-83042-1 BS54-32  BS54-48 และ BS54-28 ที่ให้ผลผลิต 59.8  55.3  52.6 และ 52.0 กก./ไร่ ตามลำดับ ซึ่งจะได้ทำการคัดเลือกประมาณ 7 สายพันธุ์ เพื่อเข้าเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   114_2557.pdf (ขนาด: 137.17 KB / ดาวน์โหลด: 526)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม