การคัดเลือกพันธุ์ฝ้ายโดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์
#1
การคัดเลือกพันธุ์ฝ้ายโดยการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์
ปริญญา สีบุญเรือง, ถนัด กันตสุข, กริศนะ พึ่งสุข, สุเมธี มาใหญ่ และวิลัยลักษณ นวลศรี
ศูนยวิจัยพืชไร่นครสวรรค์

          ศูนยวิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ได้นำเมล็ดพันธุ์ฝ้ายจำนวน 4 สายพันธุ์ คือ Red cluster เขียวขจี ตากฟ้า 3 และ TF2-เขียว ไปฉายรังสีแกรมมาจากโคบอลต60 ในอัตรา 250 และ 400 GY โดยมีวัตถุประสงค เพื่อสร้างประชากรที่มีความหลายหลายของเฉดสีและคุณภาพของเส้นใย สำหรับนำไปใช้ประโยชนในการพัฒนาพันธุ์ฝ้ายเส้นใยสีต่อไป โดยปี 2550 ปลูก M1-Plant และเก็บรวม M2-Seed จากนั้นจึงปลูกและคัดเลือก M2 - M3 และแบบ Mass selection ในปี 2551 - 2552 คัดเลือกแบบต้นต่อแถว หรือแบบสมอต่อแถว ในปี 2553 - 2556 เป็นชั่วที่ M4 - M7 ผลการทดลองในปี 2556 สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ฝ้ายที่สม่ำเสมอและมีสีเส้นใยที่ต้องการจำนวน 14 สายพันธุ์ จากสายพันธุ์ TF2-เขียวที่กลายพันธุ์ และพบว่ามีคุณภาพเส้นใยที่ดีมากจัดเป็นฝ้ายเส้นใยยาวพิเศษ (extra long) โดยมีเปอรเซ็นตหีบ 23 - 25% ความยาวเส้นใยระหว่าง 1.28 - 1.42 นิ้ว ความเหนียว 19.5 - 22.1 กรัมต่อเท็กซ์ ความสม่ำเสมอ 45 - 54% ความละเอียดอ่อน 0 - 2.3 ในขณะที่พันธุ์ตรวจสอบมีเปอรเซ็นตหีบ 26% ความยาวเส้นใย 1.19 นิ้ว ความเหนียว 20.1 กรัมต่อเท็กซ์ ความสม่ำเสมอ 52% และความละเอียดอ่อน 2.4 ซึ่งจะได้นำทั้ง 14 สายพันธุ์ไปประเมินผลผลิตในขั้นตอนต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   123_2557.pdf (ขนาด: 100.38 KB / ดาวน์โหลด: 408)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม