การเปรียบเทียบเบื้องต้น : พันธุ์ฝ้ายเส้นใยสี (ชุดที่ 3)
#1
การเปรียบเทียบเบื้องต้น : พันธุ์ฝ้ายเส้นใยสี (ชุดที่ 3)
ปริญญา สีบุญเรือง, ถนัด กันต์สุข, กริศนะ พึ่งสุข, สุเมธี มาใหญ่ และวิลัยลักษณ์ นวลศรี
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

          การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงในการผลิตฝ้าย เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม แต่การใช้พันธุ์ฝ้ายพื้นเมือง (Gossypium arborium) ที่มีการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ ทำให้มีลักษณะบางประการที่เปลี่ยนไปจากพันธุ์เดิม แต่ยังสามารถทนทานต่อการเข้าทำลายของแมลงปากดูดโดยเฉพาะเพลี้ยจักจั่น และหนอนเจาะสมอฝ้ายเข้าทำลายน้อย นอกจากความทนทานต่อแมลงแล้ว พันธุ์ฝ้ายเหล่านั้นควรมีศักยภาพในการให้ผลผลิตอีกด้วย จึงจะสามารถใช้เป็นทางเลือกในการลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ดังนั้นในปี 2556 ศูนยวิจัยพืชไร่นครสวรรค์จึงทำการเปรียบเทียบเบื้องต้นพันธุ์ฝ้ายที่มีลักษณะดังกล่าว เพื่อประเมินผลผลิต คุณภาพเส้นใยและช่วงอายุเก็บเกี่ยว ภายใต้การปลูกแบบปลอดสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 2 ซ้ำ และมีฝ้ายจำนวน 32 พันธุ์ โดยมีพันธุ์ AKH4 และตากฟ้า3 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ ใช้ระยะปลูก 1.50 x 0.50 เมตร แถวยาว 12 เมตร ขนาดแปลงย่อย 7.50 x 12 เมตร ผลการทดลองพบว่า ผลผลิตของทุกพันธุ์ไม่แตกต่างกันทางสถิติโดยให้ผลผลิตระหว่าง 227 - 329 กิโลกรัมต่อไร่ เฉลี่ย 268 กิโลกรัมต่อไร่ โดยทุกสายพันธุ์ให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์ตรวจสอบ AKH4 และตากฟ้า3 ร้อยละ 4 - 43 และ 24 - 80 ตามลำดับ ส่วนเปอร์เซ็นต์หีบเฉลี่ย 35% สำหรับคุณภาพเส้นใย จัดเป็นฝ้ายเส้นใยสั้นสีน้ำตาล มีค่าความยาวเส้นใยเฉลี่ย 0.96 นิ้ว ความเหนียวเส้นใยเฉลี่ย 19.3 กรัมต่อเท็กซ์ ความสม่ำเสมอเส้นใย 53 และความละเอียดอ่อนเส้นใย 5.2 ส่วนอายุการเก็บเกี่ยวพบว่า ทุกสายพันธุ์มีอายุการเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกับพันธุ์ตรวจสอบ AKH4 แต่เก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าพันธุ์ตรวจสอบตากฟ้า3 เนื่องจากมีอายุถึงวันสมอแตก 50% ระหว่าง 90 - 96 วัน ในขณะที่พันธุ์ AKH4 และตากฟ้า3 มีอายุถึงวันสมอแตก 95 และ 113 วันตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   128_2557.pdf (ขนาด: 81.1 KB / ดาวน์โหลด: 395)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม