การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟต่อการเข้าทำลายของด้วงกาแฟและสารออคราทอกซิน เอในเมล็ดกาแฟ
#1
การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟต่อการเข้าทำลายของด้วงกาแฟและสารออคราทอกซิน เอ (Ochratoxin A) ในเมล็ดกาแฟ
ทิพยา ไกรทอง, ปิยนุช นาคะ, ปานหทัย นพชินวงศ์, เสรี อยู่สถิตย์ และลิลลี่  พรานุสร
ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร, สถาบันวิจัยพืชสวน และสำนักวิจัยพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช 

          เก็บรักษาเมล็ดกาแฟต่อการเข้าทำลายของด้วงกาแฟและออคราทอกซิน เอ (Ochratoxin A) ในเมล็ดกาแฟ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร วางแผนการทดลองแบบ Split plot in RCB จำนวน 4 ซ้ำ Main plot ประกอบด้วย ภาชนะในการเก็บรักษา ประกอบด้วย เก็บในถุงพลาสติกหนาซีนด้วยสูญญากาศ เก็บในถุงผ้าดิบ เก็บในถุงพลาสติกหนา (hermetic bag) เก็บในกระสอบป่าน  และเก็บถุงพลาสติกใส  (polyethelene  bag  liner) Sub plot คือ  ระยะเวลาในการเก็บรักษา ประกอบด้วยเก็บรักษาที่อายุ 3, 6, 9  และ 12 เดือน พบว่าการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟที่อายุ 3 เดือนในฤดูกาลผลิตปี 2555/56 และ 2556/57 ไม่พบการเข้าทำลายของด้วงกาแฟ และเชื้อรา แต่หลังจาก 6 เดือนไปแล้วเริ่มพบว่ามีด้วงกาแฟเข้าทำลายและพบเชื้อราโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บรักษา 12 เดือน ในปี 2555/2556 และ 2556/2557 พบการเข้าทำลายของด้วงกาแฟเฉลี่ยคิดเป็น 38.0% และ 15.0%  และพบเชื้อรา Aspergillus njger  Pennicillium  Mycelium  ทุกภาชนะที่เก็บรักษาจากการสุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ด้วยวิธี Direct plate การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟให้ได้คุณภาพดีควรเก็บรักษาเมล็ดกาแฟที่มีความชื้นไม่เกิน 13% (มาตรฐานการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟความชื้นไม่เกิน 13%) สามารถเก็บได้นานสูงสุด 6 เดือนในสภาพอุณหภูมิ 25 - 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80% โดยเก็บในถุงพลาสติกแบบซีลดีที่สุด รองลงมาเป็นการเก็บในถุงพลาสติกหนา เนื่องจากการเข้าทำลายของด้วงกาแฟน้อยกว่ากรรมวิธีอื่นๆ และปริมาณสารพิษจากเชื้อราต่ำกว่าค่ามาตรฐานสากลกำหนด คือ ไม่เกิน 5 µg/kg หรือ ppb นอกจากนั้นความชื้นของเมล็ดกาแฟอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด


ไฟล์แนบ
.pdf   150_2557.pdf (ขนาด: 377.91 KB / ดาวน์โหลด: 885)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม