การพัฒนาระบบการปลูกกล้วยไม้สกุลแวนดา
#1
การพัฒนาระบบการปลูกกล้วยไม้สกุลแวนดา
ธัญพร งามงอน, จิตอาภา จิจุบาล, กำพล เมืองโคมพัส และเยาวภา เต้าชัยภูมิ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์  

          การพัฒนารูปแบบการปลูกกล้วยไม้สกุลแวนด้าให้เหมาะสมสำหรับเป็นกล้วยไม้กระถาง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงแพชรบูรณ์  ดำเนินการระหว่างปี 2554 – 2557 วางแผนการทดลอง แบบ 2 x 3 Factorial in CRD (Completely Randomized Design) มี 6 ซ้ำ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 ชนิดของกระถางขนาด 6 นิ้ว ได้แก่ กระถางพลาสติกใส และกระถางพลาสติกดำ ปัจจัยที่ 2 วัสดุปลูกชนิดต่างๆ ได้แก่ กาบมะพร้าวสับ สแฟกนัมมอส และขุยมะพร้าว จำนวน 6 กรรมวิธี  ดังนี้ 1) กระถางพลาสติกใส : กาบมะพร้าวสับเล็ก 2) กระถางพลาสติกใส : สแฟกนัมมอส 3) กระถางพลาสติกใส : ขุยมะพร้าว 4) กระถางพลาสติกดำ : กาบมะพร้าวสับเล็ก 5) กระถางพลาสติกดำ : สแฟกนัมมอส  6) กระถางพลาสติกดำ : ขุยมะพร้าวอัตรา 1:1 ปลูกเลี้ยงในโรงเรือนพรางแสง 50% พบว่ากล้วยไม้สกุลแวนด้าในทุกกรรมวิธีมีเปอร์เซ็นต์การมีชีวิตรอด 100% วัสดุปลูกทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ กาบมะพร้าวสับ สแฟกนัมมอส และขุยมะพร้าว ทำให้จำนวนใบ ความสูงต้น ความกว้างใบ ความยาวใบจำนวนรากความยาวรากความหนารากจำนวนช่อดอก และจำนวนดอกแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ส่วนชนิดของกระถางไม่มีความแตกต่างทางสถิติในทุกกรรมวิธีของการเจริญเติบโต


ไฟล์แนบ
.pdf   162_2557.pdf (ขนาด: 543.63 KB / ดาวน์โหลด: 1,839)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม