วิธีการปลูกที่เหมาะสมต่อผลผลิตและปริมาณสารสำคัญของปัญจขันธ์พันธุ์อ่างขาง
#1
วิธีการปลูกที่เหมาะสมต่อผลผลิตและปริมาณสารสำคัญของปัญจขันธ์พันธุ์อ่างขาง
อรุณี  ใจเถิง, ศศิธร  วรปิติรังสี, วัชรพล  บำเพ็ญอยู่, วิมล  แก้วสีดา และจรัญดิษฐ ดิษฐ์ไชยวงศ์
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร

          ดำเนินการปลูกปัญจขันธ์พันธุ์อ่างขาง (Gynostemmapentaphyllum Makino cv. Angkang) ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ตั้งแต่ตุลาคม 2555 ถึงมิถุนายน 2557 เพื่อหาวิธีการปลูกที่เหมาะสมของปัญจขันธ์พันธุ์อ่างขางในเขตภาคเหนือตอนบนที่ได้ผลผลิตและสารซาโปนินรวมสูง  การทดลองนี้ วางแผนการทดลองแบบ  RCBD 7 กรรมวิธี  3  ซ้ำ  โดยปลูกขึ้นค้างไม้ไผ่รูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูสูงจากพื้น 0.30 ม. และ1.25 ม.  ค้างเสาไม้ไผ่ทรงตั้งฉากกับพื้นดินสูง 1.50 ม. ค้างรูปสี่เหลี่ยมเสาทำด้วยไม้ไผ่ สูง 1.25 ม. ค้างไม้ไผ่รูปทรงสามเหลี่ยมสูง 1.00,  1.25  และ1.50  ม. โดยให้สูง 1.00 ม.  เป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ  จากการปลูกครั้งที่ 1 (ตุลาคม 2555 – กุมภาพันธ์ 2556)  เก็บเกี่ยวฤดูที่ 1 แล้วดูแลต่อฤดูที่ 2 (มีนาคม –มิถุนายน 2556) พบว่าการปลูกแบบขึ้นค้างเสาไม้ไผ่ทรงตั้งฉากกับพื้นดิน สูง 1.50 ม.  มีผลผลิตแห้งมากที่สุดทั้งสองฤดู โดยในฤดูที่ 1 และ 2 มีผลผลิตแห้ง 370 และ 411 กก./ไร่ ตามลำดับ ส่วนการปลูกแบบขึ้นค้างไม้ไผ่รูปสี่เหลี่ยมคางหมูสูง 0.30 ม. และรูปทรงสามเหลี่ยม (กรรมวิธีเปรียบเทียบ) สูง 1.00 ม. มีผลผลิตแห้งน้อยที่สุดทั้งสองฤดู  และไม่มีความแตกต่างทางสถิติ จากการปลูกครั้งที่ 2 เก็บเกี่ยวฤดูที่ 1 (ตุลาคม 2556 - กุมภาพันธ์ 2557) พบว่า การปลูกแบบขึ้นค้างไม้ไผ่รูปทรงสี่เหลี่ยมสูง 1.25 ม. มีผลผลิตแห้งสูงที่สุด 337 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีเปรียบเทียบ  โดยกรรมวิธีเปรียบเทียบมีผลผลิตแห้ง 222 กก./ไร่  จากการดูแลต้นทดลองต่อในฤดูที่ 2 (มีนาคม – มิถุนายน 2557) พบว่าการปลูกขึ้นค้างรูปทรงสี่เหลี่ยมสูง 1.25 ม. มีผลผลิตแห้งสูงที่สุด 411 กก./ไร่  และกลุ่มที่ให้ผลผลิตแห้งสูงรองลงมา คือ ค้างรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมูสูง 1.25 ม. รูปทรงตั้งฉากสูง 1.50 ม. และรูปทรงสามเหลี่ยมสูง 1.25 โดยมีผลผลิตแห้ง 360, 332 และ 331  กก./ไร่ ตามลำดับ  ซึ่งทั้ง 4 กรรมวิธีดังกล่าวแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีเปรียบเทียบ  โดยให้ผลผลิตแห้ง 258 กก./ไร่  จากกรรมวิธีค้างรูปทรงเหมือนกัน ในฤดูปลูกเดียวกันทั้งสองครั้งพบว่า ผลผลิตแห้งของเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ของปีถัดมาจะน้อยกว่าผลผลิตแห้งของเดือนมีนาคม - มิถุนายน  และพบว่ารูปทรงค้างไม่มีผลต่อปริมาณสารซาโปนินรวมรูปทรงค้างที่เหมาะสมในการปลูกปัญขันธ์พันธุ์อ่างขางที่ให้ผลผลิตสูงและใช้ต้นทุนในการทำค้างต่ำได้กำไรสุทธิสูง คือ รูปทรงตั้งฉากสูง 1.50 ม.และรูปทรงสี่เหลี่ยมสูง 1.25 ม.


ไฟล์แนบ
.pdf   180_2557.pdf (ขนาด: 374.04 KB / ดาวน์โหลด: 675)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม