ชักนำให้เบญจมาศเกิดการกลายพันธุ์โดยการฉายรังสิชุดที่ 1 /2557
#1
ชักนำให้เบญจมาศเกิดการกลายพันธุ์โดยการฉายรังสิชุดที่ 1 /2557
พฤกษ์ คงสวัสดิ์, นิตยา คงสวัสดิ์ และธวัชชัย นิ่มกิ่งรัตน์
ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

          เบญจมาศ (Chrysanthemum) มีการปลูกในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 50 ปี แต่ยังผลิตไม่เพียงพอต้องนำเข้าไม่น้อยกว่า 400 ล้านปีต่อปี ปัจจุบันเกษตรกรนิยมปลูกเบญจมาศบนที่ราบมากขึ้นแต่ยังไม่มีพันธุ์เบญจมาศที่เหมาะสม ต้องมีปรับปรุงพันธุ์เบญจมาศให้เหมาะสมกับการปลูกในพื้นที่ราบกับประเทศไทยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตเบญจมาศ  ในปี 2552 - 2556 กรมวิชาการได้ปรับปรุงพันธุ์เบญจมาศโดยการฉายรังสีได้เบญจมาศพันธุ์ดีเด่น 9 พันธุ์ และจะออกเป็นพันธุ์แนะนำ 1 พันธุ์ แต่ทั้งหมดเป็นพันธุ์ดอกสีเหลือง จำเป็นต้องมีการปรับปรุงพันธุ์เบญจมาศโดยการฉายรังสีให้ได้เบญจมาศสีอื่นๆ  

          ไม่มีการวางแผนการทดลอง  นำต้นเบญจมาศพันธุ์การค้าของเกษตรกรที่เหมาะสมกับพื้นที่ระดับน้ำทะเล 500 เมตร จำนวน 5 พันธุ์ คือ พันธุ์ม่วงยะลา (กลายจากพันธุ์เรแกนม่วง)  พันธุ์เหลืองยะลา (กลายจากพันธุ์ฟูม่าเหลือง)  พันธุ์เหลืองขมิ้น พันธุ์ขาวญี่ปุ่น และพันธุ์เรโชมี  นำยอดอ่อนเบญจมาศพันธุ์ดังกล่าวเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในอาหารสูตร MS เติม BA 3 ml./l. และ NAA1 ml./l. ให้ได้ต้นเบญจมาศขนาด 5 ข้อ จำนวน 100 ขวด/พันธุ์ (ขวดละ 4 ต้น) นำต้นเบญจมาศที่ได้ไปฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลันที่ระดับ 0 10 20 และ 30เกรย์ เมื่อได้ต้นเบญจมาศรุ่น MV1 ตัดขยายจำนวนในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจนได้ต้นเบญจมาศรุ่น MV2 พันธุ์ละไม่น้อยกว่า 40 ต้น นำต้นที่ได้ออกปลูกในโรงเรือนควบคุมโรคและแมลงเพื่อคัดเลือกต่อไป ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ปี  2557 

         ผลการทดลอง สามารถชักนำให้เบญจมาศกลายพันธุ์ได้ตามกรรมวิธี  โดยระดับรังสีที่เหมาะสมในการใช้กับเบญจมาศ คือ 10 เกรย์ รองมา คือ 20 และ 30 เกรย์ ตามลำดับ ได้ต้นเบญจมาศรุ่น MV1 จำนวน 274 เบอร์ ต้นเบญจมาศรุ่น MV2 จำนวน 391 เบอร์  และต้นเบญจมาศรุ่น MV3 จำนวน 1,313 เบอร์ แต่เมื่อออกปลูกในโรงเรือนได้ต้นเบญจมาศในรุ่น MV4 จำนวน 1,675 เบอร์ โดยเบญจมาศพันธุ์ขาวญี่ปุ่น (T4MV4) รอดตายมากที่สุด รองลงมา คือ พันธุ์ม่วงยะลา (T1MV4) จำนวน 1,024 เบอร์ จำนวน 166 เบอร์ พันธุ์เหลืองยะลา (T2MV4) จำนวน 236 เบอร์  พันธุ์เหลืองขมิ้น (T3MV4) จำนวน 181 เบอร์ พันธุ์ขาวญี่ปุ่น (T4MV4) และพันธุ์เรโชมี (T5MV4) จำนวน 68 เบอร์ ตามลำดับ และเริ่มสังเกตพบลักษณะใบที่กลายพันธุ์

          สรุปผลการทดลอง ได้ต้นพันธุ์เบญจมาศจากการฉายรังสีในปี 2557 สำหรับคัดเลือกทั้งเบญจมาศตัดดอก และเบญจมาศกระถางในปี 2558 - 2559 ไม่น้อยกว่า 1,675 เบอร์


ไฟล์แนบ
.pdf   188_2557.pdf (ขนาด: 397.15 KB / ดาวน์โหลด: 802)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม