ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคใบไหม้ของมันฝรั่งโดยชีววิธี
#1
ประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคใบไหม้ของมันฝรั่งโดยชีววิธี
วิมล แก้วสีดา และสุรชาติ คูอาริยะกุล
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย 

          จากการศึกษาประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคใบไหม้ของมันฝรั่งโดยชีววิธี ตั้งแต่ตุลาคม 2554 ถึงกันยายน 2557 เพื่อหาเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่สามารถควบคุมเชื้อรา P. infestans สาเหตุโรคใบไหม้มันฝรั่ง โดยเก็บตัวอย่างต้นมันฝรั่ง และดินในแปลงปลูกมันฝรั่งในเขต อ.พบพระ จ.ตาก จำนวน 25 ตัวอย่าง  อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ จำนวน  5 ตัวอย่าง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย จำนวน 12 ตัวอย่าง มาแยกนำมาแยกเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่อยู่บริเวณรอบรากและผิวใบต้นมันฝรั่ง โดยใช้ตัวอย่างพืชและดิน จำนวน 1 และ 10 กรัม ตามลำดับ  ใส่ลงในน้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อปริมาณ 100 มล. เจือจางด้วยวิธี dilution plating techniques บนอาหารเลี้ยงเชื้อ nutrient agar medium (NA) ได้เชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด 103 ไอโซเลท และจำแนกเป็นเชื้อ Bacillus sp. 16 ไอโซเลท และนำเชื้อ Bacillus sp. 16 ไอโซเลท ไปทดสอบการยับยั้งเชื้อรา P. infestans บนอาหารเลี้ยงเชื้อ พบว่าเชื้อ Bacillus sp. 5 ไอโซเลท คือ TK05 , TK08 , CR01, CR02 และ CR04 สามารถยับยั้งเชื้อรา P. infestans   ได้บนอาหารเลี้ยงเชื้อ และการยับยั้งเชื้อรา P. infestant  โดยวิธี  detached potato leaves บนใบมันฝรั่งพบว่า เชื้อ Bacillus sp. เพียง 3 ไอโซเลท ที่สามารถยับยั้งเชื้อรา P. infestans ได้ แต่เปอร์เซ็นต์การยับยั้งก็ไม่ได้สูงมากนัก และผลการทดสอบการรควบคุมโรคใบไหม้บนต้นมันฝรั่งพันธุ์ Atlantic ของเชื้อ Bacillus sp. ทั้ง 3 ไอโซเลท  พบว่าไม่สามารถควบคุมเชื้อรา P. infestans สาเหตุโรคใบไหม้บนต้นมันฝรั่งได้ 


ไฟล์แนบ
.pdf   191_2557.pdf (ขนาด: 155.35 KB / ดาวน์โหลด: 631)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม