เทคโนโลยีการเพาะเห็ดถั่วฝรั่ง : Coprinus comatus(O. F.Müll.) Gray
#1
เทคโนโลยีการเพาะเห็ดถั่วฝรั่ง : Coprinus comatus  (O. F.Müll.) Gray
วราพร ไชยมา, อนุสรณ์ วัฒนกุล และกรกช จันทร        
สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

          เห็ด Coprinus comatus  (O.F.Mull) Gray หรือเห็ดถั่วฝรั่ง มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นเห็ดเศรษฐกิจชนิดใหม่ได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสูตรวัสดุเพาะ  ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด และเทคโนโลยีการผลิตเห็ดถั่วฝรั่งในเชิงพานิชย์ ผลศึกษาการเพาะเห็ดถั่วฝรั่งในถุงพลาสติกของแต่ละสายพันธุ์ โดยใช้วัสดุขี้เลื่อยเป็นส่วนประกอบหลักพบว่า สูตรที่ 3 ซึ่งมีส่วนผสมคือ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 96% + รำ 3% +  ยิปซั่ม 0.5% + ดีเกลือ 0.5% เห็ดถั่วฝรั่งทุกสายพันธุ์ จะให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงที่สุด และพบว่า เห็ดถั่วฝรั่งสายพันธุ์ Comatus 3 ให้ผลผลิตสูงสุด คือ 158.67 กรัมต่อถุง มีค่า B.E. 36.01%  ส่วนศึกษาวิธีการเพาะในโรงเรือนของเห็ดถั่วฝรั่งแต่ละสายพันธุ์ โดยมีวัสดุเพาะหลักประกอบด้วยฟางข้าว 100 กก. + รำข้าว 5 กก. + ยูเรีย 1 กก. + แอมโมเนียมซัลเฟต 2 กก. + ปูนขาว 1 กก. + ยิปซั่ม 2 กก. + ทริปเบิลซุปเปอร์ฟอตเฟต 1 กก. พบว่าวิธีการเพาะในตะกร้าพลาสติก บรรจุวัสดุเพาะปริมาณ 5 กก. เห็ดถั่วฝรั่ง สายพันธุ์ Comatus 4 ให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 2,102.92 กรัม/ตะกร้า (B.E. = 62.87%) ส่วนการเพาะในถุงพลาสติก บรรจุวัสดุเพาะ ปริมาณ 2 กก. เห็ดถั่วฝรั่ง สายพันธุ์ Comatus 4 ให้ผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 1,186.67 กก./ถุง มีค่า B.E. = 88.69%


ไฟล์แนบ
.pdf   200_2557.pdf (ขนาด: 591 KB / ดาวน์โหลด: 1,239)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม