ทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนและหลังการงอกของวัชพืชเพื่อกำจัดวัชพืช
#1
ทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนและหลังการงอกของวัชพืชเพื่อกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบและใบกว้างในแปลงทดสอบ (ทานตะวัน)
จรัญญา ปิ่นสุภา, คมสัน นครศรี และนงลักษ์ ปั้นลาย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

          ศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและหลังงอกของวัชพืช เพื่อควบคุมวัชพืชในทานตะวัน แปลงทดลองศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดลพบุรี ระหว่างเดือนเมษายน - ตุลาคม พ.ศ. 2554 วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 17 กรรมวิธี คือ การใช้สาร pendimethalin, butachlor, propisochlor, metolachlor, acetochlor, oxyfluorfen, oxadiazon, clomazone, flumioxazin, fluazifop-butyl, quizalofop-p-tefuryl, fenoxaprop-p-ethyl, clethoxydim, imazethapyr และ imzaquin อัตรา 300, 240, 108, 300, 300, 24, 150, 120, 30, 30, 20, 20, 45, 15 และ 15 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีการใช้แรงงาน และการไม่กำจัดวัชพืชพบว่า สาร flumioxazin 30 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ และ clomazone 120 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ เป็นพิษต่อการงอกของเมล็ดทานตะวัน สาร imazethapyr 15 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ และ imzaquin 15 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ พ่นหลังทานตะวันงอก 15 วัน เป็นพิษมาก ใบแสดงอาการหงิกงอ ชะงักการเจริญเติบโตและทำให้ต้นทานตะวันตาย สารกำจัดวัชพืช butachlor, metolachlor, acetochlor, oxadiazon, fluazifop-P-butyl, fenoxaprop-p-ethyl และ clethoxydim อัตรา 240, 300, 300, 150, 30, 20 และ 45 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามลำดับ สามารถควบคุมวัชพืชหญ้าตีนนก (Digitaria ciliaris (Retz.) Koel.) หญ้านกสีชมพู (Echinochloa colona L.) ผักโขมหิน(Boerhavia diffusa L) ผักเบี้ยหิน (Trianthema portulacastrum L.) และปอวัชพืช (Corchorus olitorius L.) ได้ดีใกล้เคียงกันจนถึงระยะ 45 วันหลังพ่นสาร ทำให้น้ำหนักแห้งของวัชพืชแตกตางกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช สาร fluazifop-p-butyl และ clethodim ให้ผลผลิตน้ำหนักเมล็ดทานตะวัน 365.76 และ 369.96 กิโลกรัม/ไร่ ตามลำดับ สูงสุดและแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญกับกรรมวิธีๆ ในการทดลอง รองลงมาสาร butachlor, acetochlor, fenoxaprop-p-ethyl และกรรมวิธีกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานให้ผลผลิต 311.29, 320.68, 326.01 และ 323.27 กิโลกรัม/ไร่


ไฟล์แนบ
.pdf   2111_2554.pdf (ขนาด: 143.36 KB / ดาวน์โหลด: 713)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม