วิจัยและทดสอบพันธุ์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
#1
วิจัยและทดสอบพันธุ์กล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
ณัฐฎา ดีรักษา, อารมย์ แก้วละเอียด, วิทยา เจะจาโรจน์, ชญานุช ตรีพันธ์ และโนรี สะมะแอ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา, ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนราธิวาส

          การสำรวจตลาดไม้ดอกไม้ประดับในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง จังหวัดยะลา และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่าไม้ดอกที่มีปริมาณมากที่สุดในตลาด ได้แก่ เบญจมาศที่มีสีเหลือง และสีขาว ส่วนสีอื่นๆ กลุ่มผู้ค้าจะทำการเปลี่ยนดีได้โดยใช้ดอกเบญจมาศสีขาวแล้วให้ดูดสีที่ต้องการ คิดเป็น ๙๕% ส่วนดอกไม้อื่นๆ จะสั่งมาบ้างในกรณีที่ลูกค้าต้องการให้จัดด้วยดอกไม้อะไร และแหล่งที่สั่งซื้อจะมาจาก มาเลย์เชียเป็นส่วนใหญ่ แต่มีบ้างที่มาจากอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ส่วนแหล่งปลูกไม้ดอกที่สำคัญได้ทำการสำรวจในจังหวัดยะลา ตรัง และสตูล พบว่ามีการปลูกใช้ในพื้นที่เป็นส่วนมากและยังไม่เพียงพอในพื้นที่ และมีไม้ดอกอื่นๆ ที่นำมาจากภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย เช่น หน้าวัว, แกลดิโอรัส, เฮลิโคเนีย, แอสเตอร์ เป็นต้น จะนำมาจำหน่ายตามที่ผู้ซื้อสั่งเท่านั้น คิดเป็น ๕% ของดอกไม้ทั้งหมด ช่วงเดือนที่มีการสั่งซื้อดอกไม้มากที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างคือช่วงเดือนมีนาคม กันยายน และธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีการสำเร็จการศึกษาของโรงเรียนต่างๆ ช่วงรับปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัย และงานประจำจังหวัดที่จัดขึ้นของแต่ละพื้นที่ การทดสอบพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับคุณภาพผลผลิตขึ้นกับชนิดและพันธุ์ หน้าวัวสามารถเก็บดอกได้ตลอดทั้งปีเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับภาคใต้ตอนล่างคือพันธุ์เปลวเทียนภูเก็ต, เปลวเทียนลำปาง, HC021 และ HC249 ให้ผลผลิตได้ในช่วง 6 เดือนแรกหลังปลูก และให้ผลผลิตเฉลี่ย 0.5 - 1 ดอกต่อเดือน ดาหลาพันธุ์บัวแดงใหญ่, ตรัง1 และบัวชมพู มีการเจริญเติบโตได้ดีมีการแตกกอเฉลี่ย 10 – 12 ต้น/กอ เบญจมาศพันธุ์ที่ให้จำนวนดอกต่อต้นสูงสุดคือ พันธุ์เหลืองยะลา, ชมพูหวาน และเหลืองขมิ้น มีสีดอกและลักษณะดอกที่ตลาดต้องการ เฉลี่ย 14.80 - 20.25 ดอก/ต้น แก่นตะวันระยะปลูกที่ให้ผลผลิตดีที่สุด คือ 60 x 50 cm., 50 x 50 cm. และ 30 x 50 cm. เฉลี่ย 0.748 - 0.788 กก./ต้น ในช่วงปลายฤดูฝน


ไฟล์แนบ
.pdf   36_2559.pdf (ขนาด: 3.17 MB / ดาวน์โหลด: 2,638)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม