การเพาะเห็ดที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ภาคเหนือตอนบน
#1
การเพาะเห็ดที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ภาคเหนือตอนบน
นันทินี ศรีจุมปา, ศิริพร หัสสรังสี, สุทธินี เจริญคิด, วีระ วรปิติรังสี, สุธามาศ ณ น่าน, สุวลักษณ์ ชัยชูโชติ, พัชราภรณ์ ลีลาภิรมย์กุล, วราพร ไชยมา และสมศรี ปะละใจ
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย, สำนักวิจัยและพัฒาการเกษตรเขตที่ 1, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ และสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

          โครงการการเพาะเห็ดที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ภาคเหนือตอนบน ประกอบด้วย 3 การทดลอง คือ การพัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่า การศึกษาผลผลิตเห็ดต่งฝนที่เพาะในแปลงเกษตรกรจังหวัดแพร่และเชียงใหม่ และการศึกษาผลผลิตเห็ดถั่วฝรั่งที่เพาะในแปลงเกษตรกรจังหวัดแพร่และเชียงใหม่

          การพัฒนาการเพาะเลี้ยงเห็ดตับเต่าด าเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ระหว่างปี 2558 - 2560 ประกอบด้วยสองการทดลองย่อย คือ การผลิตเห็ดตับเต่าในแปลงโสนและการผลิตเห็ดตับเต่าในแปลงส้มโอ ทดลองปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าให้กับต้นโสนอายุ 3 เดือน และสุ่มเก็บตัวอย่างรากโสนเพื่อตรวจสอบการเข้าอยู่อาศัยของเชื้อเห็ดตับเต่ากับรากโสนโดยวิธีการ clearing และ staining พบว่ามีเส้นใยเชื้อราที่อยู่กับรากโสนแต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเชื้อเห็ดตับเต่า โดยพบเส้นใยที่อยู่ร่วมกับรากโสนทั้งจากแปลงที่มีการใส่เชื้อเห็ดตับเต่าและแปลงที่ไม่ได้ใส่เชื้อเห็ด แต่ไม่พบการเกิดดอกเห็ดตับเต่าในแปลงโสนตลอดระยะเวลา 3 ปีของการทดลอง ในขณะเดียวกันทำการปลูกเชื้อเห็ดตับเต่าให้กับต้นส้มโอโดยทดลองในแปลงส้มโออินทรีย์ กรรมวิธีคือจ านวนครั้งของการปลูกเชื้อเห็ด 1 - 3 ครั้ง เปรียบเทียบกับการไม่ปลูกเชื้อเห็ด จากการสุ่มเก็บตัวอย่างรากของส้มโอจากแปลงทดลองมาตรวจสอบการเข้าอยู่ร่วมกันระหว่างเชื้อเห็ดกับรากส้มโอโดยวิธีการ clearing และ staining พบว่ามีเส้นใยเชื้อราที่อยู่กับรากส้มโอแต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเชื้อเห็ดตับเต่า โดยพบเชื้อรากับรากส้มโอทั้งจากแปลงที่ใส่และไม่ใส่เชื้อเห็ดตับเต่า แต่ไม่พบดอกเห็ดตับเต่าในแปลงทดลองตลอดระยะเวลา 3 ปีของการทดลอง

           การศึกษาผลผลิตเห็ดต่งฝนที่เพาะในแปลงเกษตรกรจังหวัดแพร่และเชียงใหม่ด าเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือนกันยายน 2559 ในสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ฟาร์มของเกษตรกรผู้ร่วมงานทดลองในจังหวัดแพร่และจังหวัดเชียงใหม่ อัตราการเจริญของเส้นใยเห็ดต่งฝนของ จ.เชียงใหม่ ในทุกฤดูกาลใกล้เคียงกัน (0.33 - 0.43 ซม./วัน) ซึ่งต่างจาก จ.แพร่ ที่อัตราการเจริญของเส้นใยในฤดูฝน (0.64 ซม./วัน) จะเร็วกว่าในฤดูร้อน และฤดูหนาว (0.32 ซม./ก้อน) การให้ผลผลิตเห็ดต่งฝน ใน จ.เชียงใหม่ ช่วงเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2558 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 143 กรัม/วัสดุเพาะ 1 กก. ในขณะที่ผลผลิตของ จ.แพร่ ในช่วงกรกฎาคม - ตุลาคม 2558 ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 142 กรัม/วัสดุเพาะ 1 กก. ผู้ผลิตยังต้องมีการพัฒนาเทคนิคและทักษะในการผลิตเห็ดต่งฝนเพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

          การศึกษาผลผลิตเห็ดถั่วฝรั่งที่เพาะในแปลงเกษตรกรจังหวัดแพร่และเชียงใหม่ เพื่อศึกษาถึงวิธีการเพาะ ผลผลิต และความเป็นไปได้ในการเพาะเชิงพาณิชย์ ดำเนินการในปี 2558 - 2559 จากผลการเพาะทดสอบผลผลิตเห็ดถั่วฝรั่งทั้งสองปีพบว่า การเพาะเห็ดถั่วฝรั่งควรเพาะในช่วงฤดูหนาว (เดือนตุลาคม มกราคม) เพราะเป็นช่วงที่สภาพอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25 – 26 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด พบว่าเส้นใยเห็ดเจริญได้เฉลี่ย 1.1 เซนติเมตรต่อวัน เส้นใยเดินเต็มก้อนใช้เวลา 30 - 35 วัน หลังจากเพาะเปิดดอก ประมาณ 15 วัน เห็ดเริ่มออกดอก สามารถเก็บผลผลิตได้ 2 ครั้ง ได้ผลผลิตเฉลี่ย 300 กรัมต่อตะกร้า (0.13 ตารางเมตร) สำหรับการเพาะในฤดูร้อนและฤดูฝน ไม่สามารถเพาะได้เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย เพราะเห็ดถั่วฝรั่งจะสร้างตุ่มดอกและสามารถพัฒนาเป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์ได้ อุณหภูมิควรต่ำประมาณ 20 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า สำหรับการประเมินความเป็นไปได้ในการเพาะเห็ดถั่วฝรั่งเชิงพาณิชย์ในสภาพโรงเรือนปกติพบว่า สภาพอากาศ วัสดุเพาะ และวิธีการเปิดดอก เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเพาะ

ทั้งเห็ดต่งฝนและเห็ดถั่วฝรั่งเป็นเห็ดใหม่ สำหรับภาคเหนือตอนบน ที่ควรได้รับการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครู้จักมากขึ้นเพื่อให้เกิดการยอมรับให้เป็นเห็ดเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   30_2560.pdf (ขนาด: 1.3 MB / ดาวน์โหลด: 2,277)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม