วิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
#1
วิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
มัตติกา ทองรส

วิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
มัตติกา ทองรส, บงการ พันธุ์เพ็ง, พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ, รัชดาวัลย์ อัมมินทร, อิทธิพล บ้งพรม, สุพัตรา รงฤทธิ์, นวลจันทร์ ศรีสมบัติ, ภัสชญภน หมื่นแจ้ง, วนิดา โนบรรเทา และวิไลวรรณ เวชยันต์

          การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสมในระบบการผลิตผักตระกูลผักกาดหอมในระบบอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 2. เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่การป้องกันกำจัดด้วงหมัดผักที่เหมาะสมในระบบการผลิตผักตระกูลกะหล่ำในระบบอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 3. เพื่อวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบการผลิตพืชอินทรีย์ที่เหมาะสมในพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 4. เพื่อพัฒนาเกษตรกรต้นแบบการผลิตพืชผักอินทรีย์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 5. เพื่อพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ การผลิตพืชหลังนาอินทรีย์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม กิจกรรมที่ 1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตพืชผักอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองที่ 2 การวิจัยและพัฒนาการปรับปรุงบำรุงดินในการผลิตผักตระกูลผักกาดหอมในระบบเกษตรอินทรีย์พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี การทดลองที่ 2 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดด้วงหมัดผักในการผลิตผักตระกูลกะหล่ำในระบบอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการในพื้นที่ อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี

กิจกรรมที่ 2 การทดสอบระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในระบบการผลิตพืชอินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินการในพื้นที่อำเภอตระการพืชผลจังหวัดอุบลราชธานี 

          ผลการทดลองพบว่า กิจกรรมที่ 1 การผลิตผักกาดหอม (แกรนด์ แรปิด) อินทรีย์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2558 - 2560 โดยการใช้อัตราปุ๋ย 50 เปอร์เซ็นต์ปุ๋ยอินทรีย์เทียบเคียงค่าวิเคราะห์ดินและปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์วัน มีแนวโน้มให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันแต่ทำให้มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 11,770 บาทต่อไร่ ต้นทุนต่อกิโลกรัมเฉลี่ย 11.08 บาทต่อกิโลกรัม ผลการทดลองดังกล่าวพบว่า การใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์วัน ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ประกอบไปด้วยแบคทีเรียบริเวณรากที่มีชีวิตที่สามารถเร่งการเจริญเติบโตของพืชโดยสามารถตรึงไนโตรเจน ละลายธาตุอาหารพืชที่ถูกตรึงอยู่ในดิน และสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชคล้าย IAA จึงสามารถช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวราก ทำให้เพิ่มการดูดน้ำและปุ๋ย จึงสามารถลดต้นทุนการผลิตด้านปุ๋ยอินทรีย์ได้ การใช้ไส้เดือนฝอยในการกำจัดด้วงหมัดผักซึ่งเป็นศัตรูพืชสำคัญในการผลผลิตกวางตุ้งในระบบเกษตรอินทรีย์ โดยพ่นช่วงเตรียมแปลงปลูก และพ่นทุก 7 วัน สามารถลดการระบาด และให้ผลผลิตเฉลี่ย 3 ปี 1,675 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าวิธีเกษตรกรที่ไม่ใช้ไส้เดือนฝอย 1,252 กิโลกรัมต่อไร่ คิดเป็นร้อยละ 33.75 ต้นทุน 12,808 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 60,800 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 38,596 บาท/ไร่ มีผลตอบแทนค่าใช้จ่ายการลงทุน (BCR) เท่ากับ 4.72 วิธีเกษตรกร ต้นทุน 12,408 บาท/ไร่ รายได้เฉลี่ย 39,520 บาท/ไร่ รายได้สุทธิ 25,596 บาท/ไร่ มีผลตอบแทนค่าใช้จ่ายการลงทุน (BCR) เท่ากับ 4.12 ดังนั้นการใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) หรือไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย (Steinernema sp. Thai strain) สามารถกำจัดด้วงหมัดผักในการผลิตผักกวางตุ้งอินทรีย์พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีได้ และสามารถขยายผลสู่เกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียง เป็นทางเลือกทดแทนการใช้สารเคมี อีกทั้งยังช่วยลดการเกิดสารเคมีตกค้างในผลผลิตอีกด้วยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมส่วนกิจกรรมที่ 2 พบว่าระบบการปลูกข้าว – ถั่วลิสง เป็นระบบที่ให้ค่าเฉลี่ย 3 ปี ของรายได้ และผลตอบแทนสูงสุด คือ 11,051 บาท/ไร่ และ 6,533 บาท/ไร่ ตามลำดับ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต้นทุน 3 ปีที่ 4,518 บาท/ไร่ และให้ค่า Benefit Cost Ratio (BCR) เฉลี่ยเท่ากับ 2.4


ไฟล์แนบ
.pdf   40_2560.pdf (ขนาด: 1.69 MB / ดาวน์โหลด: 640)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม