ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
#1
ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
จันทนา ใจจิตร, สุภาพร สุขโต, วีระพงษ์ เย็นอ่วม, ฉัตรชีวิน ดาวใหญ่, สมบัติ บวรพรเมธี, เครือวัลย์ บุญเงิน, อรัญญา ภู่วิไล, วัชรา สุวรรณ์อาศน์, สุวิทย์ สอนสุข, สงัด ดวงแก้ว และปัญญา พุกสุ่น

          การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันตก วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบพันธุ์การใช้ปุ๋ยตามลักษณะเนื้อดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน พื้นที่ดำเนินการ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ พื้นที่ในเขตชลประทานและพื้นที่แห้งแล้งในเขตอาศัยน้ำฝน ดำเนินการในแปลงเกษตรกรของจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ และชัยนาท รายละ 1 - 2 ไร่ จำนวน 50 ราย กรรมวิธีทดสอบมี 2 ปัจจัย ได้แก่ พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นครสวรรค์ 3) การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และการใช้ปุ๋ยตามลักษณะเนื้อดิน ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผลการดำเนินงานพบว่า พื้นที่ในเขตชลประทานจังหวัดอุทัยธานี กรรมวิธีทดสอบการใช้ปุ๋ยตามลักษณะเนื้อดิน จังหวัดนครสวรรค์ กรรมวิธีทดสอบการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,521 และ 949 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 4,841 และ 2,708 บาท/ไร่ กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 17.27 และ 12.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 45.5 และ 56.7 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ พื้นที่แห้งแล้งอาศัยน้ำฝนในเขตจังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ และชัยนาท โดยจังหวัดอุทัยธานีและชัยนาท มีการทดสอบทั้ง 2 ปัจจัย ได้แก่ พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นครสวรรค์ 3) และการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน จังหวัดนครสวรรค์ มีการทดสอบปัจจัยเดียว ได้แก่ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตเฉลี่ย 985 1,453 และ 1,461 กิโลกรัม/ไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 2,868 8,033 และ 5,445 บาท/ไร่ กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 6.66 1.9 และ 22.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร 11.21 20.1 และ 22.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทั้ง 2 กรรมวิธีมีค่าสัดส่วนรายได้ต่อการลงทุน (BCR) มากกว่า 1 และกรรมวิธีทดสอบมีสัดส่วนรายได้ต่อการลงทุนมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ดังนั้น วิธีการใส่ปุ๋ยเคมีตามลักษณะเนื้อดินและการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการใช้พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นครสวรรค์ 3) เป็นวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม เพราะให้ผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้น มีความเสี่ยงน้อย คุ้มค่าต่อการลงทุน


ไฟล์แนบ
.pdf   53_2560.pdf (ขนาด: 1.24 MB / ดาวน์โหลด: 721)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม