การตรวจติดตามเชื้อ Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus ที่ติดมากับหัวพันธุ์ม
#1
การตรวจติดตามเชื้อ Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus ที่ติดมากับหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้าจากต่างประเทศ
ชลธิชา รักใคร่, โสภา มีอำนาจ, ปรียพรรณ พงศาพิชณ์, วันเพ็ญ ศรีชาติ, วานิช คำพานิช และณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         มันฝรั่ง (potato) เป็นสิ่งต้องห้ามตามพระบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 - ธันวาคม 2559 ประเทศไทยมีการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สก๊อตแลนด์ และสหรัฐอเมริกา ปริมาณทั้งสิ้น จำนวน 4,667,592 กิโลกรัม (ข้อมูลกลุ่มวิจัยการกักกันพืช) จากการสืบค้นข้อมูลข้อกำหนดการนำเข้าหัวพันธุ์มันฝรั่งของประเทศไทยพบว่า มีข้อกำหนดสำหรับดิน และหัวพันธุ์ซึ่งจะต้องปราศจากเชื้อแบคทีเรีย Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus สาเหตุของโรค bacterial ring rot การนำเข้าต้องมีใบอนุญาต และมีใบรับรองสุขอนามัยพืช จากการตรวจสอบเชื้อแบคทีเรีย Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus ที่อาจจะติดมาหัวพันธุ์มันฝรั่งนำเข้า จำนวน 38 ตัวอย่าง จากตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น เมื่อนำมาตรวจสอบด้วยวิธี dilution technique การทดสอบเชื้อบนพืชทดสอบโดยใช้ต้นมะเขือ การตรวจจำแนกชนิด ด้วยวิธี ELISA ตรวจสอบแล้วไม่พบเชื้อแบคทีเรีย Clavibacter michiganensis subsp. sepedonicus สาเหตุของโรค bacterial ring rot พบเชื้อเน่าเละที่หัวพันธุ์ นำเข้าจากสก๊อตแลนด์ 1 ตัวอย่าง เมื่อนำหัวพันธุ์มันฝรั่งไปปลูกทดสอบและสังเกตอาการและความผิดปกติในโรงปลูกพืชทดสอบ พบว่าต้นเติบโตดี ไม่พบลักษณะอาการผิดปกติที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนการติดตามตรวจสอบภายหลังการนำเข้าในแปลงปลูกเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก อำเภอไชยปราการ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อำเภอพังโคน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยเก็บตัวอย่างระยะก่อนเก็บเกี่ยว และเก็บตัวอย่าง ใบ ลำต้น หัว นำมาตรวจสอบในห้องปฏิบัติการตรวจสอบแล้วไม่พบศัตรูพืชดังกล่าว


ไฟล์แนบ
.pdf   105_2560.pdf (ขนาด: 203.19 KB / ดาวน์โหลด: 483)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม