เทคนิคการพ่นสารแบบต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย
#1
เทคนิคการพ่นสารแบบต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย Helicoverpa armigera HÜbner ในกระเจี๊ยบเขียว โดยการใช้เชื้อไวรัส NPV
สิริกัญญา ขุนวิเศษ, สุชาดา สุพรศิลป์, อิศเรส เทียนทัด และสรรชัย เพชรธรรมรส
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

     ศึกษาเทคนิคการพ่นเชื้อแบบต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้าย (Helicoverpa armigera HÜbner) ในกระเจี๊ยบเขียว โดยการใช้เชื้อไวรัส NPV ดำเนินการที่แปลงเกษตรกร อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน 2560 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 พ่นสารด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม ประกอบหัวฉีดแบบใบพัด อัตราพ่น 20 ลิตรต่อไร่ กรรมวิธีที่ 2 พ่นสารด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม ประกอบหัวฉีดแบบฝักบัว อัตราพ่น 40 ลิตรต่อไร่ กรรมวิธีที่ 3 พ่น สารด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำ ประกอบหัวฉีดแบบปรับมุมพ่นด๎านท๎ายอัตราพ่น 120 ลิตรต่อไร่ (วิธีการของเกษตรกร) กรรมวิธีที่ 4 พ่นสารด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำ ประกอบคานหัวฉีดแนวตั้งคู่ อัตราพ่น 120 ลิตรต่อไร่ กรรมวิธีที่ 5 ไม่พ่นสาร ตามลำดับ ทุกกรรมวิธีที่พ่นสาร พ่นด้วยเชื้อไวรัส NPV อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเชื้อทดลอง ทุก 4 วัน จำนวน 3 ครั้ง ผลการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารมีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้ายได้ดีกว่ากรรมวิธีไม่พ่นสาร และกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อย โดยการใช้เครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนเจาะสมอฝ้ายในกระเจี๊ยบเขียวได้ดีไม่แตกต่างกัน แตํใช้เวลาในการพ่นและเวลาเติมสารน้อยกว่า และจะทำการทดลองซ้ำในปีถัดไป


ไฟล์แนบ
.pdf   134_2560.pdf (ขนาด: 249.47 KB / ดาวน์โหลด: 407)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม