การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ Bacillus subtilis ไอโซเลท 20W16 หรือ 20W33
#1
การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ Bacillus subtilis ไอโซเลท 20W16 หรือ 20W33 เพื่อใช้ควบคุมเชื้อรา Colletrotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสพริก
บุษราคัม อุดมศักดิ์, สุรีย์พร บัวอาจ, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล และบูรณี พั่ววงษ์แพทย์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

        ทดสอบประสิทธิภาพของ Bacillus subtilis (Bs) ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสพริก สาเหตุจากเชื้อรา Colletrotrichum gloeosporioides (Cg) ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ในสภาพแปลงปลูกที่ จ.กาญจนบุรี พบว่าไอโซเลท 20W16 และ 20W33 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมโรค ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2559 จึงได้นำเอา Bs ไอโซเลท 20W16 มาพัฒนาเป็นสารชีวภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ในระดับแปลงปลูก โดยทำการผสมปรุงแต่งเป็นชีวภัณฑ์เอ็นโดสปอร์ของแบคทีเรีย Bs ไอโซเลท 20W16 สูตรเหลว โดยเลี้ยง Bs ในอาหาร 6 สูตร ได้แก่ สูตรที่ 1 กากน้ำตาล สูตรที่ 2 กากน้ำตาล + โซเดียมเบนโซเอท 0.05% W/V สูตรที่ 3 กากน้ำตาล +กากถั่วเหลือง สูตรที่ 4 กากน้ำตาล + กากถั่วเหลือง + โซเดียมเบนโซเอท 0.05% W/V สูตรที่ 5 ปลาหมัก (ปุ๋ยปลา) + กากถั่วเหลือง และสูตรที่ 6 ปลาหมัก (ปุ๋ยปลา) + กากถั่วเหลือง + โซเดียมเบนโซเอท 0.05% W/V เก็บไว้ในสภาพอุณหภูมิห้องปฏิบัติการ (28 ± 2 องศาเซลเซียส) และในตู้เย็นธรรมดาที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส ทำการตรวจนับปริมาณเอ็นโดสปอร์ในอาหารเหลว 6 สูตร ทุกๆ เดือน ด้วยวิธี dilution plate technique บนอาหารเลี้ยงเชื้อ PSA ผลการทดลอง พบว่าผลิตภัณฑ์ทั้ง 6 สูตร มีปริมาณเอ็นโดสปอร์เริ่มต้น 10(8) cfu/ml โดยสูตรที่ 3 มีปริมาณเอ็นโดสปอร์สูงสุด คือ 4.9 x 10(8) cfu/ml เมื่อเก็บไว้เป็นเวลา 4 เดือน พบว่า ผลิตภัณฑ์สูตรที่ 6 คือ สูตร ปลาหมัก (ปุ๋ยปลา) + กากถั่วเหลือง + โซเดียมเบนโซเอท 0.05% W/V ที่เก็บไว้ทั้งในอุณหภูมิห้องปฏิบัติการและในตู้เย็น มีปริมาณเอ็นโดสปอร์สูงที่สุดคือ 6.2 x 10(8) cfu/ml


ไฟล์แนบ
.pdf   136_2560.pdf (ขนาด: 380.91 KB / ดาวน์โหลด: 944)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม