การทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคใบจุดน้ำตาลของกล้วยไม้
#1
การทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคใบจุดน้ำตาลของกล้วยไม้สาเหตุจากแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. cattleyae
รุ่งนภา ทองเคร็ง, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ และทิพวรรณ กันหาญาติ
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทดสอบประสิทธิภาพแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคใบจุดสีน้ำตาลของกล้วยไม้สาเหตุจากแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. cattleyae ในกล้วยไม้สกุลแวนด้า วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ประกอบด้วยกรรมวิธีที่ใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท BVB-2 BVR-37 และ BVS-43 เปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช thiram 80% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีที่ใช้น้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ โดยจะพ่นสารละลายเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ทุก 7 วัน จำนวน 5 ครั้ง ผลการทดลองพบว่ากรรมวิธีที่ใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท BVR-37 มีค่าดัชนีการเกิดโรคน้อยที่สุดและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับทุกๆ กรรมวิธี โดยมีค่าดัชนีการเกิดโรคเท่ากับ 46.67 เปอร์เซ็นต์ (2559) และ 40.83 เปอร์เซ็นต์ (2560) มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคใบจุดสีน้ำตาลของกล้วยไม้ได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีที่ใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท BVB-2 BVS-43 กรรมวิธีที่ใช้สารเคมี thiram 80% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีที่ใช้น้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ


ไฟล์แนบ
.pdf   139_2560.pdf (ขนาด: 283.22 KB / ดาวน์โหลด: 546)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม