ผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชผสมกับสารกำจัดเพลี้ยไฟในข้าวนาหว่านนำตมที่มีผลต่อหญ้าข้าวนก
#1
ผลของการใช้สารกำจัดวัชพืชผสมกับสารกำจัดเพลี้ยไฟในข้าวนาหว่านนำตมที่มีผลต่อหญ้าข้าวนก
ยุรวรรณ อนันตนมณี, จรรยา มณีโชติ, ปรัชญา เอกฐิน, จรัญญา ปิ่นสุภา และธีรทัย บุญญะปะภา
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          จากการสัมภาษณ์เกษตกรในพื้นที่ปลูกข้าวในจังหวัด นครนายกจำนวน 34 ราย และปทุมธานี จำนวน 36 ราย รวมทั้งสิ้น 70 ราย พบว่าเกษตรกรจำนวน 43 ราย คิดเป็น 61.4 เปอร์เซ็นต์ มีพฤติกรรมในการใช้สารกำจัดวัชพืชผสมกับสารกำจัดเพลี้ยไฟ จากจำนวนเกษตรกรที่มีการใช้สารผสมให้เหตุผลว่า การใช้สารกำจัดวัชพืชผสมกับสารกำจัดเพลี้ยไฟในนาข้าวเป็นการลดต้นทุนในการผลิตและเป็นการประหยัดเวลาในการ จากข้อมูลข้างต้นจึงได้ทำการศึกษาความเข้ากันได้ของสารกำจัดวัชพืชที่ใช้ร่วมกับสารกำจัดเพลี้ยไฟในนาข้าว โดยทำการศึกษาความเข้ากันได้ของสารกำจัดวัชพืชผสมกับสารกำจัดแมลง ใช้วิธีการ Jar test ของ O’Connor-Marer (2000) ผสมสารทั้งสองในอัตราสูงสุดที่แนะนำแบบสารเดี่ยวโดยผสมสารตามกรรมวิธีลงในบีกเกอร์ (beaker) ปริมาตร 500 มิลลิลิตร ผสมไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 15 นาที พบว่า penoxulam + carbaryl และ penoxulam + thiacloprid เมื่อนำมาผสมกันแล้วจะเกิดเป็นตะกอนแขวนลอย และมีผลึกลอยอยู่บนผิวหนำของสารละลาย เมื่อผสมและตั้งทิ้งไว้ 15 นาที หลังจากทำการทดสอบความเข้ากันได้ของสารคู่ผสมระหว่างสารกำจัดวัชพืชและสารกำจัดเพลี้ยไฟ ในห้องปฏิบัติการแล้ว ได้ดำเนินการทดสอบระสิทธิภาพของสารคู่ผสมในการควบคุมวัชพืช ได้แก่ หญ้าข้าวนก และทดสอบความเป็นพิษต่อพืชปลูก พบว่าสารกำจัดวัชพืช propanil + fipronil มีอาการเป็นพืชต่อข้าว ทำให้เกิดอาการใบไหม้ คะแนนจากการประเมินความเป็นพิษอยู่ที่ 7 คะแนน คือ มีความเป็นพิษในระดับรุนแรง (severely toxic) ส่วนสารคู่ผสมอื่นๆ มีประสิทธิภาพในการกำจัดหญ้าข้าวนกได้ในระดับดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สถิติ พร้อมทั้งดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยไฟในนาข้าวของสารคู่ผสมดังกล่าวพร้อมทั้งดำเนินการทดสอบในสภาพแปลงเพื่อศึกษาประสิทธิภาพสารในการกำจัดเพลี้ยไฟในข้าวนาหว่านน้ำตม


ไฟล์แนบ
.pdf   227_2560.pdf (ขนาด: 224.37 KB / ดาวน์โหลด: 630)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม