วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตลำไยในภาคเหนือตอนบน
#1
วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตลำไยในภาคเหนือตอนบน
ทวีศักดิ์ แสงอุดม, นิพัฒน์ สุขวิบูลย์, นฤนาท ชัยรังษี, เกียริติรวี พันธ์ไชยศรี, จารุฉัตร เขนยทิพย์ และวัฒน์นิกรณ์ เทพโพธา
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย และสถาบันพืชสวน

           โครงการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตลำไยในภาคเหนือตอนบน ดำเนินการในแปลงลำไยเกษตรกร จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และลำพูน ระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2561 ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาการผลิตลำไยนอกฤดูแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม 1 การทดลอง กิจกรรมทดสอบเทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพลำไย 2 การทดลอง โดยกิจกรรมแรกเป็นการทดสอบเทคโนโลยีการใช้โพแทสเซียมคลอเรตชักนาให้ออกดอกนอกฤดูระหว่างกรรมวิธีเกษตรกรภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออก พบว่ากรรมวิธีเกษตรกรภาคเหนือทุกรายออกดอกมากกว่ากรรมวิธีเกษตรกรภาคตะวันออก แต่มีความแตกต่างทางสถิติจำนวน 3 ราย โดยมีการออกดอกของกรรมวิธีภาคเหนือร้อยละ 34.0 - 91.90 และกรรมวิธีภาคตะวันออกร้อยละ 10.63 - 83.10 ส่วนเกษตรกรอีก 2 ราย ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ด้านต้นทุนการใช้สารกระตุ้นการออกดอก พบว่ากรรมวิธีเกษตรกรภาคเหนือมีต้นทุนต่ากว่ากรรมวิธีเกษตรกรภาคตะวันออก 3 ราย โดยกรรมวิธีเกษตรกรภาคเหนือมีต้นทุนระหว่าง 14.90 – 57.00 บาท/ต้น กรรมวิธีภาคตะวันออกมีต้นทุน ระหว่าง 32.56 - 64.00 บาท/ต้น และเกษตรกรที่มีต้นทุนของกรรมวิธีเกษตรกรภาคเหนือสูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกรภาคตะวันออก 2 ราย โดยกรรมวิธีภาคเหนือมีต้นทุนระหว่าง 18.80 - 64.22 บาท/ต้น ส่วนกรรมวิธีเกษตรกรภาคตะวันออกมีต้นทุน 17.32 - 38.12 บาท/ต้น

          ส่วนกิจกรรมทดสอบเทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพลำไย มี 2 การทดลอง คือ 1) การทดสอบสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชเพื่อเพิ่มการติดผลของลำไย พบว่ากรรมวิธีทดสอบมีผลต่อจำนวนผลต่อช่อผลเมื่อติดผลแต่ประสิทธิภาพไม่คงที่และผันแปรตามสถานที่และปีที่งาน การพ่นสาร uniconazole เพิ่มจำนวนผลต่อช่อผลเมื่อติดผลสูงสุดและสูงกว่าการพ่นละอองเกสรตัวผู้และการพ่นสาร NAA ร้อยละ 3.40 - 37.70 การพ่นละอองเกสรตัวผู้และการพ่นสาร NAA เพิ่มจำนวนผลต่อช่อผลเมื่อติดผลมากกว่าการไม่พ่นสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชร้อยละ 5.10 - 52.28 กรรมวิธีทดสอบมีผลต่อจำนวนผลที่เหลือในช่อผลตั้งแต่ติดผลจนเก็บเกี่ยวผลผลิตและคุณภาพผล แต่ประสิทธิภาพผันแปรตามสถานที่และปีที่ดำเนินงานเช่นกัน 2) การทดสอบสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชเพื่อเพิ่มขนาดผลลำไยพันธุ์ดอ พบว่า การพ่นสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกรรมวิธีทดสอบมีผลต่อจำนวนผลที่เหลือในช่อผลตั้งแต่ติดผลจนเก็บเกี่ยวผลผลิตและคุณภาพผล แต่ประสิทธิภาพผันแปรตามสถานที่และปีที่ดำเนินงานที่ใช้เพิ่มขนาดผลได้เมื่อเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชแต่ประสิทธิภาพของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชต่อการเพิ่มขนาดผลนั้นไม่คงที่และผันแปรตามสถานที่และปีที่ดำเนินการการพ่นสาร CPPU ทาให้ผลกว้างขึ้น 0.01 - 0.32 เซนติเมตร และมีน้าหนักเนื้อเพิ่มขึ้น การพ่นสาร GA3 มีแนวโน้มที่จะทาให้ผลมีความกว้างผลเพิ่มขึ้น 0.05 - 0.27 เซนติเมตร การพ่นสาร NAA มีแนวโน้มทาให้ความกว้างผลเพิ่มขึ้น 0.05 - 0.30 เซนติเมตร บางกรรมวิธีทดสอบมีผลต่อจำนวนผลที่เหลือในช่อผลและคุณภาพผลแต่ประสิทธิภาพผันแปรตามสถานที่และปีที่ดำเนินงาน


ไฟล์แนบ
.pdf   34_2561.pdf (ขนาด: 22.82 MB / ดาวน์โหลด: 859)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม