ต้นแบบการผลิตกล้วยไม้ตัดดอกปลอดโรคไวรัส
#1
ต้นแบบการผลิตกล้วยไม้ตัดดอกปลอดโรคไวรัส
สิทธิศักดิ์ แสไพศาล, สุรภี กีรติยะอังกูร, เจตน์ มีญาณเยี่ยม และดวงพร บุญชัย

          ประเทศไทยปลูกและส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวายลูกผสมเป็นอันดับหนึ่งของไม้ดอกทั้งหมด โดยเฉพาะพันธุ์ดอกสีม่วงแดง เช่น เอียสกุล (BOM) และพันธุ์ดอกสีขาว เช่น ขาวสนานและบอมขาว แต่ต้นพันธุ์ของกล้วยไม้ตัดดอกสกุลหวายเหล่านี้มีปัญหาเรื่องการติดเชื้อไวรัส Cymbidium mosaic virus (CyMV) ในอัตราสูง โดยเฉพาะแปลงที่ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อจากต้นกล้วยไม้แปลงเก่า พบติดเชื้อไวรัส 100 เปอร์เซ็นต์ แต่แปลงที่ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตรวจพบว่ามีการติดเชื้อไวรัส CyMV ในอัตราประมาณ 60 - 70 เปอร์เซ็นต์ และติดเชื้อเป็น100เปอร์เซ็นต์ใน 1 - 2 ปี ดังนั้นโครงการนี้จึงทดลองใช้ต้นพันธุ์กล้วยไม้เป็นโรคไวรัส (CyMV) เปรียบเทียบกับต้นพันธุ์ปลอดโรค (CyMV, Odontoglossum ringspot virus และ Potyvirus) ของกล้วยไม้ 2 พันธุ์คือ BOM และ TOC White Sonia (TWS) เพื่อให้ทราบข้อมูลผลกระทบของการเป็นโรคไวรัสต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้ เปรียบเทียบกัน 3 ระยะ ระยะที่ 1 การแตกแคลลัสหรือ Protocorm like bodies: PLBs พบว่า แคลลัส ของ BOM ที่ปลอดโรค (No Virus-BOM=NV-BOM) เมื่ออายุ 65 วัน ที่เลี้ยงในอาหารเหลว แบ่งเซลล์ได้เป็นปกติที่มีรูปร่างกลมมีสีเขียวอ่อนและสามารถเพิ่มจำนวนแคลลัสได้มาก ทั้งน้าหนักสดและน้าหนักแห้ง เป็น 3 เท่าของแคลลัสของ BOM เป็นโรคไวรัส (CyMV) (Virus-BOM=V-BOM) ซึ่งมีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง และยังพบว่าแคลลัสของ V-BOM มีการเจริญของแคลลัสที่ผิดปกติ พบแคลลัสเปลี่ยนไปเป็นยอดอ่อนและมีการตายของเซลล์แคลลัสเป็นสีเข้มและดำ ระยะที่ 2 การชักนาจากแคลลัสเป็นต้นอ่อน หลังเลี้ยงแคลลัสบนอาหารแข็งสูตร VW ดัดแปลง นาน 60 วัน แคลลัสของ NV-BOM และ TWS ปลอดโรค (NV-TWS) มีการพัฒนาที่เร็วและดีกว่า สามารถเป็นต้นโตได้จำนวนมากกว่า V-BOM และ TWS เป็นโรค (V-TWS) เป็น 2 เท่า และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในระยะนี้ได้เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกล้าที่ปักดำเลี้ยงในอาหารแข็งให้ต้นมีขนาดใหญ่นาน 120 วัน ก่อนย้ายออกปลูก สรุปได้ว่า NV-BOM และ NV-TWS มีการเจริญเติบโตได้เร็วกว่า มีความสูงต้นเฉลี่ยและจำนวนใบมากกว่า V-BOM และ V-TWS แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะที่ 3 เปรียบเทียบผลการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้ในระยะการย้ายออกปลูกเป็นไม้นิ้วและการปลูกลงในกระบะแปลงใหญ่เพื่อตัดดอก ซึ่งในระยะเป็นไม้นิ้วนี้ทั้งการสุ่มต้นกล้ากล้วยไม้แบบกระจายจำนวน 500 ต้น จากทั้งหมด 10,000 ต้น และการสุ่มวัดแบบแยกเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 200 ต้น ตามขนาดต้นใหญ่ กลางและเล็ก เปรียบเทียบระหว่าง NV-BOM กับ V-BOM และ NV-TWS กับ V-TWS เมื่อกล้าอายุ 3, 6 และ 10 เดือน พบความแตกต่างของการเจริญเติบโตที่ไม่ชัดเจน แต่โดยรวมทั้ง NV-BOM และ NV-TWS มีแนวโน้มที่ลำหน้ามีขนาดใหญ่มากกว่าและอัตราการออกดอกเร็วกว่า V-BOM และ V-TWS แต่ทั้ง V-BOM และ V-TWS มีจำนวนลาต่อกอมากกว่าแต่ขนาดดำเล็กกว่า NV-BOM และ NV-TWS ส่วนช่วงหลังการย้ายต้นกล้วยไม้ลงปลูกในแปลงเพื่อตัดดอกจาหน่าย ได้วัดผลการเติบโตเปรียบเทียบกันระหว่าง NV-BOM และ V-BOM หลังย้ายลงปลูก 4, 8, 12 และ 16 เดือน ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ปลูกเป็นไม้กระถางขนาด 3.5 นิ้ว ใส่กาบมะพร้าว ปลูกในวัสดุปลูกที่เป็นกระบะกาบมะพร้าวและอิฐบล็อก และมีทั้งปลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมโรงเรือนกึ่งปิดหรือสภาพของโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์ ตามแบบปกติของโรงเรือนทั่วไปของเกษตรกร พบว่า การเจริญเติบโตของลำหน้า ได้แก่ ความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลางของลำหน้า จำนวนช่อดอกต่อกอ และจำนวนช่อดอกต่อลาของ NV-BOM มีความสูงใหญ่และจำนวนช่อดอกที่มากกว่า V-BOM แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกสภาพแวดล้อมและทุกวัสดุปลูก ในทุกช่วงอายุที่เปรียบเทียบกัน สำหรับ NV-TWS มีลักษณะการเติบโตของขนาดลำหน้าและปริมาณช่อดอกต่อกอและต่อลามากกว่า V-TWS เช่นเดียวกัน และเมื่อเปรียบเทียบด้านคุณภาพของดอกของ NV-BOM กับ V-BOM ในช่วงอายุ 9 และ 15 เดือน พบว่าความยาวช่อดอก ปริมาณดอกต่อช่อและขนาดดอกของ NV-BOM มากกว่า V-BOM แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง 2 ช่วงอายุที่ทาการวัดผล ส่วนอายุการปักแจกันของ NV-BOM และ V-BOM เฉลี่ยประมาณเดือนครึ่ง ดอกร่วงมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ไม่แตกต่างกัน จากผลการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ทั้ง 2 พันธุ์ พบว่าการใช้ต้นพันธุ์เป็นโรคไวรัส (CyMV) ให้ผลกระทบเสียหายต่อผลผลิตที่ลดลงถึง 3 เท่า ตั้งแต่ระยะการเป็นแคลลัสมีความผิดปกติ กระทบต่อการพัฒนาไปเป็นต้นอ่อนที่ช้าลงและปริมาณน้อยกว่าต้นปลอดโรคเกินกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ต้นกล้าอ่อนที่ปักดาในอาหารแข็งโตช้าลงกว่าต้นปลอดโรค ต้นกล้าไม้นิ้วโตช้ากว่าและออกดอกช้ากว่า เมื่อย้ายปลูกเพื่อตัดดอกวัดได้ชัดเจนว่า ความสมบูรณ์ของลำหน้าที่ให้ดอกมีขนาดเล็กกว่าและจำนวนช่อดอกต่อลำน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่งผลต่อคุณภาพของช่อดอกที่มีความยาวช่อที่สั้นกว่าและจำนวนดอกต่อช่อที่น้อยกว่า ตลอดจนขนาดดอกที่เล็กกว่าต้นปลอดโรค ดังนั้นการใช้ต้นพันธุ์กล้วยไม้ตัดดอกลูกผสมทั้ง BOM และ TWS ที่ปลอดโรคไวรัสมาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ย่อมเหมาะสมที่จะใช้เป็นต้นแบบเพื่อเพิ่มผลผลิตทั้งด้านคุณภาพและปริมาณดอก รวมทั้งการเจริญเติบโตของต้น


ไฟล์แนบ
.pdf   72_2561.pdf (ขนาด: 481.28 KB / ดาวน์โหลด: 719)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม