การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้้ามันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
#1
การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้้ามันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
สุรกิตติ ศรีกุล, อรพิน หนูทอง, ฐปนีย์ ทองบุญ, สุธีรา ถาวรรัตน์, สมคิด ดาน้อย, อุดมพร เสือมาก, บรรเจิด พูลศิลป์, ไพบูรณ์ เปรียบยิ่ง และจินตนาพร โคตรสมบัติ

          สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 กรมวิชาการเกษตร ได้ทาการทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญที่มีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการจัดการสวนที่เหมาะสมสำหรับสวนปาล์มน้ำมันในภาคใต้ตอนบน ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลสู่เกษตรกรข้างเคียง ดำเนินการในแปลงปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว อายุ 6 - 8 ปี จำนวน 16 แปลง แบ่งการทดลองเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 การทดลอง set X จำนวน 12 แปลง ในแปลงเกษตรกรจังหวัดชุมพร ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี และกระบี่ เพื่อเปรียบเทียบการจัดการธาตุอาหารและการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (กรรมวิธีที่ 1) กับการจัดการตามวิธีเกษตรกร (กรรมวิธีที่ 2) ชุดที่ 2 การทดลอง set Y จำนวน 4 แปลง ดำเนินการที่แปลงเกษตรกรจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ และนครศรีธรรมราช เพื่อเปรียบเทียบการจัดการธาตุอาหาร และการจัดการสวนตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (กรรมวิธีที่ 1) การจัดการธาตุอาหารตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรและการจัดการสวนตามวิธีเกษตรกร (กรรมวิธีที่ 2) การจัดการธาตุอาหารตามวิธีเกษตรกร และการจัดการสวนตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร (กรรมวิธีที่ 3) และการจัดการตามวิธีเกษตรกร (กรรมวิธีที่ 4) เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 ถึงเดือนธันวาคม 2560 จากการเก็บตัวใบมาวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารพบว่า ทั้ง 16 แปลง มีการขาดธาตุไนโตรเจนและโพแตสเซียม ได้นำผลการวิเคราะห์ใบไปคำนวณปริมาณธาตุอาหารที่ต้องใส่ให้ปาล์มน้ำมันในกรรมวิธีแนะนาของ กรมวิชาการเกษตร จากการบันทึกข้อมูลผลผลิต 48 เดือน พบว่ากรรมวิธีต่างๆ ให้ผลผลิตแตกต่างกัน โดยปี 2557, 2558, 2559 และ 2560 มี yield gap ระหว่างกรรมวิธีกรมวิชาการเกษตร กับวิธีของเกษตรกร 34, 265, 680 และ 1,037 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ และต้นทุนการผลิตต่อน้ำหนักผลผลิตแตกต่างกัน โดยปี 2557, 2558, 2559 และ 2560 มีค่าความแตกต่างระหว่างกรรมวิธีกรมวิชาการเกษตร กับวิธีของเกษตรกร -0.05, -0.19, -0.34 และ -0.48 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   73_2561.pdf (ขนาด: 627.91 KB / ดาวน์โหลด: 1,023)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม