โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
#1
โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ บ้านป่าคา ตำบลโป่งน้้าร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
รุ่งทิวา ดารักษ์, เกษตริน ฝุายอุประ, รณชาติ ประทวน, ธนกฤต หงส์วัชรเดชา, วีรวัฒน์นิลรัตนคุณ, สมบัติ ตงเต๊า, ว่าที่ร้อยตรีจตุรภัทร รัตนวิสาลนนท์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

       
          โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ บ้านป่าคา จัดตั้งโครงการตามพระราชดำริ โดย วันที่ 31 ตุลาคม 2551 ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชีนีนาถ ได้มีหนังสือถึงกองทัพภาค 3 ความว่า “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้ดำเนินงานโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านป่าคา เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้โดยมุ่งส่งเสริมด้านการเกษตร ยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ให้กับราษฎรชาวไทยภูเขาและหมู่บ้านบริวาร” สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านป่าคา ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา ณ บ้านป่าคา หมู่ที่ 8 ตำบลโปุงน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่องค์ความรู้ โดยมุ่งส่งเสริมอาชีพเกษตรกร ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้และสิ่งแวดล้อมให้กับราษฎรชาวไทยภูเขา และให้เกษตรกรเข้าใจในหลักการปลูกพืชต่างๆแบบยั่งยืนและวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนองแนวพระราชดำริในการพัฒนาประเทศช่วยเหลือราษฎรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ การดำเนินงานมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการปลูกพืชแบบผสมผสาน ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยี และขยายผลในพื้นที่เกษตรกรซึ่งเป็นการต่อยอดผลงานวิจัยสู่เกษตรกร โดยเน้นพันธุ์ที่ได้ผ่านการทดสอบจากกรมวิชาการเกษตร และมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สามารถปลูกเป็นอาชีพหลักพร้อมกับการฟื้นคืนสภาพป่า และสภาพแวดล้อมบนที่สูงได้ และได้ส่งเสริมให้ปลูกกาแฟอาราบิก้า อโวคาโด้ และพืชผัก ไม้ผลที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยได้ดำเนินงานตามแผนมี 4 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์และคัดเลือกพื้นที่ 2) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต 3) แปลงต้นแบบและ 4) แปลงขยายผล ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตโดยการจัดฝึกอบรม มาตั้งแต่ปี 2553 - 2560 ทั้งหมด 8 รุ่น มีเกษตรกรผ่านการอบรมทั้งหมด 210 ราย การฝึกอบรมหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปกาแฟอาราบิก้าแบบครบวงจร และการเกษตรแบบผสมผสาน มีแปลงขยายผล จำนวน 3 แปลง เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีความรักและหวงแหนในพื้นที่ป่าต้นน้ำร่วมกัน ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟูพัฒนาป่าต้นน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ คนอยู่ร่วมกับป่าและใช้ประโยชน์จากป่าได้อย่างสมบูรณ์ และเห็นเป็นรูปธรรม


ไฟล์แนบ
.pdf   2_2562.pdf (ขนาด: 2.65 MB / ดาวน์โหลด: 1,552)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม