แปลงขยายผลพืชไร่และพืชหลังนา  ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้้าห้วยบางทรายตอนบน
#1
แปลงขยายผลพืชไร่และพืชหลังนาภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้้าห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
วุฒิชัย กากแก้ว, ขจรวิทย์ พันธุ์ยางน้อย, ประหยัด ยุพิน, นฤทัย วรสถิตย์ และจำลอง กกรัมย์
ศูนย์วิจยัและพฒันาการเกษตรมุกดาหาร, ศูนย์วิจยัและพฒันาการเกษตรสกลนคร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ขอนแก่น


          โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้้าห้วยบางทรายตอนบน อันเนื่องจากพระราชดำริ อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มี พระราชดำริให้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2537 กรมวิชาการเกษตร โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ ๓ ร่วมกับจังหวัดมุกดาหาร  เข้าไปดำเนินงานในพื้นที่โครงการฯ ในปี 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการปลูกพืชเศรษฐกิจในรูปแบบที่เหมาะสมแก่เกษตรกรในพื้นที่ เพื่อพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นควบคู่กับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งในปี 2539 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร (หรือ “สถานีทดลองพืชไร่มุกดาหาร” ในขณะนั้น) ได้ดำเนินการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ สปก. ณ บ้านแก่งนาง ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง  จังหวัดมุกดาหาร พื้นที่ 9 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานสำหรับการเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ระบบการปลูกพืชแบบผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงและดำเนินกิจกรรมน้าร่องปลูกยางพาราและไม้ผลเป็นพืชเศรษฐกิจ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชไร่ ปลูกพืชหลังนา ปลูกพืชแซมยาง อบรมถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร รวมถึงขยายพันธุ์พืชพันธุ์ดีและขยายผลให้ เกษตรกรนำไปปลูกเป็นอาชีพ
   
          ในช่วงปี 2558 - 2561 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การฝึกอบรมเกษตรกรจำนวน 320 ราย เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตพืชตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร เมื่อเกษตรกรนำไปปฏิบัติจะช่วยให้มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผลการดำเนินงานแปลงขยายผลพืชไร่ และพืชหลังนาในปี 2561 ในส่วนของแปลงขยายผลพืชไร่เศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยมันสำปะหลังและอ้อยโรงงาน แปลงขยายผลมันสำปะหลัง มีเกษตรกรดำเนินการ จำนวน 10 ราย รายละ 5 ไร่ รวม 50 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 5,831 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้เฉลี่ย 12,303 บาทต่อไร่ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 6,103 บาทต่อไร่ เกษตรกรสามารถ นำท่อนพันธุ์ดีขยายปลูกเพิ่มได้อีก 250 ไร่ ส่วนแปลงขยายผลอ้อยโรงงานมีเกษตรกรดำเนินการ จำนวน 10 ราย รายละ 5 ไร่ รวม 50 ไร่ ได้ผลผลิตอ้อยปลูกปีแรกเฉลี่ย 16.7 ตันต่อไร่ มีรายได้เฉลี่ย 12,277 บาทต่อไร่ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 512 บาทต่อไร่ แต่ผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นในอ้อยตอที่จะเก็บเกี่ยวในปีต่อๆ ไป และเกษตรกร ส่วนใหญ่เก็บท่อนพันธุ์ดีจากกรมวิชาการเกษตร เพื่อขยายพันธุ์เพิ่มได้อีก 350 ไร่  ในส่วนของแปลงขยายผลพืชหลังนา ซึ่งประกอบด้วยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดข้าวเหนียว และถั่วลิสง แปลงขยายผลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีเกษตรกรจำนวน 10 ราย รายละ 1 ไร่ รวม 10 ไร่ ได้ผลผลิต 909 กิโลกรัมต่อ ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 5,681 บาทต่อไร่ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 1,881 บาทต่อไร่ แปลงขยายผลข้าวโพดข้าวเหนียว มีเกษตรกรจำนวน 5 ราย รายละ 1 ไร่ รวม 5 ไร่ พบว่าได้ผลผลิตฝักสด 1,492 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้เฉลี่ย 14,920 บาทต่อไร่ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10,370 บาทต่อไร่ และแปลงขยายผลถั่วลิสง มีเกษตรกรจำนวน 5 ราย รายละ 1 ไร่ รวม 5 ไร่ พบว่า ได้ผลผลิตฝักสด 558 กิโลกรัมต่อไร่ มีรายได้เฉลี่ย 11,160 บาทต่อไร่ ให้ ผลตอบแทนเฉลี่ย 7,360 บาทต่อไร่

          ผลการดำเนินงานจัดทำแปลงขยายผลพืชไร่และพืชหลังนา จะเห็นได้ว่า เมื่อเกษตรกรได้ปฏิบัติตาม คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร สามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตและรายได้ให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกร นอกจากนี้พันธุ์พืชที่ได้รับจากกรมวิชาการเกษตร เกษตรกรสามารถเก็บพันธุ์พืชพันธุ์ดี ดังกล่าว ขยายสู่เกษตรกรข้างเคียงได้อย่างน้อย 600 ไร่ต่อปี ซึ่งเป็นการพัฒนาการปลูกพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม และมีความยั่งยืน


ไฟล์แนบ
.pdf   3_2562.pdf (ขนาด: 1.67 MB / ดาวน์โหลด: 995)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม