เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงจากแปลงเรียนรู้สู่เกษตรกร ศูนย์เรียนรู้การผลิตพืช
#1
เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงจากแปลงเรียนรู้สู่เกษตรกร  ศูนย์เรียนรู้การผลติพืชตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่จันทบุรี
ชลธี นุ่มหนู, พรทพิย์ศุขเจริญ, กมลภัทร ศริิพงษ์, ชลธิชา กลิ่นเกษร และสาลี่ ชินสถิต
ศูนย์เรียนรู้การผลติพชืตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่จันทบุรี และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6


          ศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่จันทบุรี ดำเนินการผลิตพืชโดยน้อมนำ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้บริหารจัดการในพื้นที่ 20 ไร่ โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1) สระน้ำ 2) นาข้าว 3) พื้นที่เกษตรผสมผสาน และ 4) ที่อยู่อาศัย ตั้งแต่ปี 2552 และเริ่มนำระบบเกษตรอินทรีย์เข้ามาร่วมปรับใช้ตั้งแต่ธันวาคม 2559 เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตพืชอย่างยั่งยืนและปลอดภัย ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตพืชอินทรีย์ภายใต้หลักเกษตรทฤษฎีใหม่และขยายผลสู่เกษตรกร ตั้งแต่ปี 2560 - 2561 พื้นที่ภายในศูนย์ฯแต่ละส่วนมีกิจกรรมสร้างรายได้หมุนเวียน คือ 1) สระน้ำใช้เก็บน้ำเพื่อการเกษตรและเลี้ยงปลาจำหน่าย  2) นาข้าว มีรายได้สุทธิจากการปลูกข้าวและพืชหลังนา ในปี 2560 มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 15,110 บาท/ไร่ และเพิ่มขึ้นในปี 2561 เฉลี่ย 36,788 บาท/ไร่ 3) พื้นที่เกษตรผสมผสานมีรายได้สุทธิเฉลี่ยจากการปลูกพืชผัก 28,152 บาท/ไร่ และจากการปลูกไม้ผล 15,655 บาท/ไร่ และ4) ที่อยู่อาศัย มีรายได้สุทธิเฉลี่ยจากการเพาะเห็ด 19,297 บาท/โรงเรือน และการผลิตปุ๋ยหมักแบบเติมอากาศ 40,000 บาท/โรงเรือน ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรและผู้สนใจตั้งแต่ปี 2560 - 2562 โดยการฝึกอบรมภายในศูนย์ฯซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายในทุกปี จัดอบรมร่วมกับหน่วยงานภายนอกมีผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 1,042 ราย บริการรับคณะศึกษาดูงานภายในศูนย์ฯทั้งสิ้น 4,163 ราย และร่วมจัดนิทรรศการในโอกาสต่างๆ จำนวน 7 ครั้ง นอกจากนี้ได้นำเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ไป ขยายผลในพื้นที่เกษตรกรจังหวัดตราดจำนวน 4 ราย ช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรคือ การผลิตเมล่อนอินทรีย์ของนางสาวรุจินี สันติกุล มีต้นทุนการผลิตลดลงร้อยละ 31.9 และมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 การผลิตแตงกวาอินทรีย์ของนายจำลอง ชนะโม มีต้นทุนการผลิตลดลงร้อยละ 3.1 และมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น ร้อยละ 45.4 การผลิตผักอินทรีย์ของนางสาววิไล ทองมี มีต้นทุนการผลิตคะน้าลดลงร้อยละ 1.7 และมีรายได้สุทธิ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ต้นทุนการผลิตกวางตุ้งลดลงร้อยละ 2.8 และมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 ต้นทุนการผลิต ผักบุ้งลดลงร้อยละ 1.6 และมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3  การผลิตผักอินทรีย์ของเรือนจำเขาระกำ มีต้นทุน การผลิตคะน้าลดลงร้อยละ 15.0 และมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.2 ต้นทุนการผลิตกวางตุ้งลดลงร้อยละ 3 และมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 ต้นทุนการผลิตผักบุ้งลดลงร้อยละ 7.4 และมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เกษตรกรสามารถนำเทคโนโลยีไปพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชอินทรีย์และนำไปปรับใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตพืชเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ในอนาคต


ไฟล์แนบ
.pdf   6_2562.pdf (ขนาด: 2.07 MB / ดาวน์โหลด: 1,994)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม