การประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนของอ้อยในระดับแปลง
#1
การประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนของอ้อยในระดับแปลง
นุชนาฏ ตันวรรณ, สายน้ำ อุดพ้วย, ปรีชา กาเพ็ชร, วลัยพร ศะศิประภา และอุดมศักดิ์ ดวนมีสุข
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี

          การเพิ่มศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการกักเก็บคาร์บอนในพืช เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างหนึ่งที่ช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อน จึงได้ทำการศึกษาถึงผลการจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมต่อมวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอนของอ้อยในพื้นที่ดินร่วนเหนียว ดำเนินการที่แปลงทดลอง ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2564 วางแผนการทดลองแบบ split plot จำนวน 4 ซ้ำ ปัจจัยหลักประกอบด้วย 1) พันธุ์ขอนแก่น 3 และ 2) พันธุ์อู่ทอง 15 และปัจจัยรอง คือ อัตราปุ๋ย ได้แก่ 7.5-3-6 15-3-6 และ 22.5-3-6 กก.N-P2O5-K2O/ไร่ ผลการทดลองพบว่า ดินร่วนเหนียว ชุดดินกำแพงแสนมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง-สูง ที่อายุ 6 เดือนหลังปลูกอัตราการสังเคราะห์แสงสุทธิของใบอ้อย ตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงสุดช่วงเวลา 08.00 – 14.00 น. ประสิทธิภาพสูงสุด เฉลี่ย 21.276 μmol CO2 m-2 s-1 เมื่อมีการปลูกอ้อย 1 ฤดูปลูกอ้อยพันธุ์อู่ทอง 15 สามารถกักเก็บคาร์บอนมากกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 โดยกักเก็บคาร์บอน เฉลี่ย 5.26 และ 4.98 ตัน C/ไร่ ตามลำดับ โดยการใส่ปุ๋ย อัตรา 22.5-3-6 กก. N-P2O5-K2O/ไร่ สามารถกักเก็บคาร์บอนไว้ได้มากที่สุดเฉลี่ย 6.09 ตัน C/ไร่ คิดเป็นการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 22.3 ตัน CO2/ไร่ ดังนั้นควรใส่ปุ๋ยและเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม จึงเป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญในการเพิ่มชีวมวลและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของอ้อย

คำหลัก: การกักเก็บคาร์บอน อ้อย การจัดการธาตุอาหาร ดินร่วนเหนียว


ไฟล์แนบ
.pdf   11. การประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนของอ้อยในระดับแปลง.pdf (ขนาด: 504.42 KB / ดาวน์โหลด: 753)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม