เทคนิคประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนในแปลงมันสำปะหลังโดยไม่ทำลายตัวอย่าง
#1
เทคนิคประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนในแปลงมันสำปะหลังโดยไม่ทำลายตัวอย่าง
สายน้ำ อุดพ้วย, วลัยพร ศะศิประภา, ปรีชา กาเพ็ชร, นุชนาฏ ตันวรรณ และอานนท์ มลิพันธ์
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ และศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก

          เทคนิคประมาณค่าชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนอย่างรวดเร็วในต้นมันสำปะหลังที่ง่าย แม่นยำ และไม่ทำลายต้นพืชเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกและประเมินการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในพื้นที่การผลิตมันสำปะหลัง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสมการวิธีการประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนอย่างง่ายโดยไม่ทำลายตัวอย่าง ดำเนินการสำรวจและเก็บข้อมูลภาคสนามในพื้นที่การผลิตมันสำปะหลัง จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2564 นำตัวอย่างพืชมาหามวลชีวภาพ และวิเคราะห์ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ข้อมูลที่ได้นำมาหาความสัมพันธ์สร้างสมการถดถอยแบบเส้นตรงของชีวมวล (BM) และการกักเก็บคาร์บอนในต้น (CS) กับข้อมูลการเจริญเติบโต ด้านความสูงต้น (H) และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำ (D) ผลการทดลองพบว่า สมการประเมินชีวมวลของมันสำปะหลังที่อายุเก็บเกี่ยว มีความสัมพันธ์กับความสูงต้นและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นมันสำปะหลังตามสมการ BM = 0.005H + 0.068D มีค่า R2 = 0.932 และ RMSE = 0.68 ตันต่อไร่ ส่วนการกักเก็บคาร์บอนในต้นมันสำปะหลัง มีความสัมพันธ์กับชีวมวล ตามสมการ CS = 0.486BM โดยมีค่า R2 = 0.9997 และ RMSE = 0.02 ตัน C ต่อไร่ ดังนั้นความสูงต้น และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น สามารถคำนวณหาชีวมวลของมันสำปะหลังโดยใช้สมการอย่างง่ายได้เพื่อประเมินการกักเก็บคาร์บอนในต้นโดยไม่ทำลายตัวอย่าง

คำหลัก: คาร์บอนในต้น น้ำหนักแห้ง มันสำปะหลัง สมการถดถอย


ไฟล์แนบ
.pdf   16. เทคนิคประเมินชีวมวลและการกักเก็บคาร์บอนในแปลงมันสำปะหลัง.pdf (ขนาด: 198.77 KB / ดาวน์โหลด: 679)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม