ศึกษาอัตราและระยะเวลาที่หมาะสมในการใช้ชีวภัณฑ์ที่ผลิตได้จากเชื้อ B. subtilis
#1
ศึกษาอัตราและระยะเวลาที่หมาะสมในการใช้ชีวภัณฑ์ที่ผลิตได้จากเชื้อ Bacillus subtilis เพื่อป้องกันกำจัดโรคแคงเกอร์ของมะนาว
นลินี ศิวากรณ์, เพลินพิศ สงสังข์ และวสันต์ ผ่องสมบูรณ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ สถาบันวิจัยพืชสวน

         การศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อ B. subtilis WD 20 ในรูปผลิตภัณฑ์น้ำหมักและผลิตภัณฑ์ผงเชื้อต่อโรคแคงเกอร์ของมะนาวในแปลงปลูกอำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม พบว่าสารเคมีคอปเปอร์ไฮครอกไซด์แสดงคะแนนความรุนแรงของการเกิดโรคเฉลี่ย 31.47% ให้น้ำมะนาวที่มีค่าความเป็นกรดด่าง 2.32 และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ 10 ผล เท่ากับ 330 กรัม ผลมะนาวร่วงก่อนการเก็บเกี่ยวขนาดผลจึงมีขนาดเล็กทำให้น้ำหนักผลที่ได้ต่ำกว่ากรรมวิธีอื่นๆ เชื้อจุลินทรีย์ B. subtilis WD 20 ในรูปผงเชื้อ แสดงความรุนแรงของการเกิดโรคเฉลี่ย 39.94% ให้น้ำมะนาวที่มีค่าความเป็นกรดด่าง 2.32 และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ 10 ผล เท่ากับ 390 กรัม และทรงต้นที่สมบูรณ์ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม เชื้อจุลินทรีย์ B. subtilis WD 20 ในรูปน้ำหมักแสดงความรุนแรงของการเกิดโรคเฉลี่ย 43.53% ให้น้ำมะนาวที่มีค่าความเป็นกรดด่าง 2.33 และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ 10 ผล เท่ากับ 340 กรัม และกรรมวิธีเปรียบทียบ(Control) แสดงความรุนแรงของการเกิดโรค 54.02% ให้น้ำมะนาวที่มีค่าความเป็นกรดด่าง 2.32 และน้ำหนักผลผลิตของผลมะนาวต่อ 10 ผล เท่ากับ 370 กรัม จากการทดลองแสดงใหเห็นว่าแม้การใช้เชื้อจุลินทรีย์ B. subtilis WD 20 ในรูปผงจะไม่แสดงคะแนนความรุนแรงของการเกิดโรคต่ำที่สุดแต่ผลผลิตที่ได้มีผลขนาดใหญ่ผลไม่ร่วงก่อนถึงระยะเก็บเกี่ยวทรงต้นสมบูรณ์แข็งแรงใบมีสีเขียวเข้มจึงนับได้ว่าเชื้อจุลินทรีย์ B. subtilis WD 20 ในรูปผงเชื้อให้ประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดโรคได้ดีที่สุด


ไฟล์แนบ
.pdf   2030_2554.pdf (ขนาด: 104.2 KB / ดาวน์โหลด: 1,321)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม