อนุกรมวิธานไส้เดือนฝอยสกุล Steinernema และ Heterorhabditis
#1
อนุกรมวิธานไส้เดือนฝอยสกุล Steinernema และ Heterorhabditis
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          จากการวัดขนาดสัดส่วน และพิจารณารูปร่างลักษณะทางสัณฐานวิทยาของไส้เดือนฝอยสกุล Steinernema (REs) แยกได้จาก จ.ร้อยเอ็ด พบว่าตัวอ่อนระยะที่ 3 มีค่า L = 472 (444-508) ไมครอน, W = 24 (24-27) ไมครอน, EP = 42 (37-45) ไมครอน, ES = 114 (102-126) ไมครอน, T = 43 (39-45) ไมครอน มีค่าสัดส่วน a = 19.3 (18.8-20.1), b = 4.1 (3.8-4.6), c = 11.1 (10.6-12.3), D% = 37 (33-40), E% = 99 (91-105) เป็นไส้เดือนฝอยที่มีขนาดเล็ก โดยตัวอ่อนระยะเข้าทำลายมีความยาวลำตัวเฉลี่ยเท่ากับ 472 ไมครอน ส่วนหางสั้น (43 ไมครอน) ในตัวเต็มวัยเพศผู้-เพศเมียทั้ง 2 ชั่วอายุ ปลายหางมี mucron และ spicule ยาวเท่ากับ 94.2 ไมครอน gubernaculum มีขนาดใหญ่และรูปร่างผอม พบโครงสร้าง epiptygma ในเพศเมียทั้ง 2 ชั่วอายุ มีความใกล้เคียงกับ S. siamkayai และ S. tami สำหรับไส้เดือนฝอย Heterorhabditis (REh) แยกได้จาก จ.ร้อยเอ็ด โดยพบว่าตัวอ่อนระยะที่ 3 มีค่า L = 541 (523-562) ไมครอน, W = 21 (20-22) ไมครอน, EP = 80 (79-85) ไมครอน, ES =112 (108-116) ไมครอน, T = 87 (82-92) ไมครอน, มีค่าสัดส่วน a = 26 (25-26), b = 4.8 (4.7-4.9), c = 6.2 (5.9-6.4), D% = 72 (70-73), E% = 92 (88-96) ตัวเต็มวัยเพศเมียมีลักษณะหางแบบ conoid มีค่า D% = 120 ตัวเต็มวัยเพศผู้มีลักษณะหางแบบ conoid ความยาวของอวัยวะสืบพันธุ์ (spicule length) = 44 (38-48) ไมครอน สามารถจำแนกโดยเปรียบเทียบกับ Key มาตรฐาน พบว่ารูปร่างลักษณะและสัดส่วนต่างๆ มีความใกล้เคียงกับ H. indica


ไฟล์แนบ
.pdf   2203_2554.pdf (ขนาด: 164.05 KB / ดาวน์โหลด: 750)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม