ต้นแบบการผลิตขยายไรตัวห้ำเป็นปริมาณมาก
#1
ต้นแบบการผลิตขยายไรตัวห้ำเป็นปริมาณมาก
มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และอัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล สังกัด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ส้านักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การผลิตขยายไรตัวห้ำเป็นปริมาณมาก ทำการศึกษาที่ห้องปฏิบัติการและเรือนทดลอง กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ส้านักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรุงเทพฯ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ไรตัวห้ำชนิดที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ควบคุมไรศัตรูพืชในประเทศไทยได้แก่ Amblyseius (=Neoseiulus) longispinosus (Evans), A. californicus (McGregor) และ A. cinctus Corpuz and Rimando ให้เป็นต้นแบบการผลิตไรตัวห้ำเป็นปริมาณมากได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายถ่ายทอดให้เกษตรกรและผู้สนใจสามารถนำไปปฏิบัติตามหรือนำไปผลิตเพื่อเป็นการค้าได้ การผลิตไรตัวห้ำ A. longispinosus และ A. californicus แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การเพาะเลี้ยงพ่อ - แม่พันธุ์ไรอาหาร และพ่อแม่พันธุ์ไรตัวห้ำ และ 2) การเลี้ยงขยายไรแดงหม่อนและไรตัวห้ำให้ได้ปริมาณมากบนต้นถั่ว ไรอาหารที่เหมาะสมใช้เป็นเหยื่อสำหรับการผลิตไรตัวห้ำ A. longispinosus และ A. californicus ในพื้นที่มีอากาศอบอุ่นร้อน เช่น กรุงเทพฯ คือ ไรแดงหม่อน ส่วนการผลิตไรตัวห้ำบนที่สูงที่มีอากาศเย็น ไรอาหารที่เหมาะสม คือ ไรสองจุด พืชอาศัยที่ใช้เพาะเลี้ยงควรเป็นถั่วชนิดที่เติบโตรวดเร็วในภูมิอากาศของพื้นที่ขณะเพาะเลี้ยง ใน 1 รอบการผลิตใช้เวลา 5-6 สัปดาห์ ได้ไรตัวห้ำประมาณ 100 เท่าจากจำนวนพ่อแม่พันธุ์ไรตัวห้ำตั้งต้น เมื่อเก็บเกี่ยวไรตัวห้ำแล้วไรตัวห้ำสามารถมีชีวิตในสภาพอดอาหารได้ 2 - 3 วัน สามารถยืดอายุไรตัวห้ำให้ยืนยาวได้มากขึ้นหากเก็บในตู้เย็น ส่วนการเพาะเลี้ยงไรตัวห้ำ A. cinctus พบว่า เหยื่อที่เหมาะสม คือ เกสรดอกธูปฤาษี เกสรดอกตีนตุ๊กแก สลับกับการเลี้ยงด้วยไรขาวพริก โดยเลี้ยงในถาดพลาสติก การเพาะเลี้ยงไรตัวห้ำ A. cinctus ในงานวิจัยนี้ยังไม่สามารถผลิตไรตัวห้ำชนิดนี้เป็นปริมาณมากได้ จำเป็นต้องมีการศึกษาต่อยอดเพิ่มเติม


ไฟล์แนบ
.pdf   2396_2555.pdf (ขนาด: 1.94 MB / ดาวน์โหลด: 1,421)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม