ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของไวรัส Pineapple mealybug wilt-associated virus
#1
ความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของไวรัส Pineapple mealybug wilt-associated virus กับชนิดของเพลี้ยแป้งในการก่อให้เกิดโรคเหี่ยวในสับปะรด
วันเพ็ญ ศรีทองชัย, ปริเชษฐ  ตั้งกาญจนภาสน์  และกาญจนา วาระวิชะนี
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          สำรวจและเก็บเพลี้ยแป้งสีชมพูและเพลี้ยแป้งสีเทาจากแปลงจากจังหวัดเพชรบุรีและราชบุรี มาเลี้ยงให้ปลอดไวรัสในกรงกันแมลง จากนั้นนำหน่อสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียมาตรวจสอบว่าปลอดไวรัสโรคเหี่ยวสับปะรด PMWaV-1 และ PMWaV-2 โดยเทคนิคอณูชีววิทยา ไพรเมอร์ที่ใช้ตรวจไวรัส PMWaV-1 ได้แก่ Pa222-F1 (5′-ACAGGAAGGACAACACTCAC-3′) และ Pa223-R (5′-CGCACAAACTTCAAGCAATC-3′) จะให้แถบของดีเอ็นเอ ขนาด 589 คู่เบส สำหรับไพรเมอร์ที่ใช้ตรวจไวรัส PMWaV-2 คือ Pa224-F2 (5′-CATACGAACTAGACTCATACG-3′) และ Pa225-R2 (5′-CCATCCACCAATTTTACTAC-3′) ให้แถบของดีเอ็นเอ ขนาด 609 คู่เบส มาเลี้ยงเพิ่มปริมาณในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากนั้นย้ายปลูกลงดินจนมีอายุประมาณ 4 - 5 เดือน จึงนำมาถ่ายทอดโรคโดยใช้ เพลี้ยแป้งแต่ละชนิดจำนวน 10 ตัว/ต้น ทดสอบกับสับปะรด 5 ต้น/ชนิดไวรัส มีระยะเวลาในการรับเชื้อและถ่ายทอดเชื้อ 3 และ 5 วัน ตามลำดับ เก็บใบสับปะรดมาตรวจหาไวรัสโดยเทคนิค RT-PCR พบว่า ต้นสับปะรดที่รับเชื้อไวรัส PMWaV-2 และ PMWaV-1 + PMWaV-2 เริ่มตรวจพบแถบดีเอ็นเอของไวรัส PMWaV-2 ขนาด 609 คู่เบส หลังการถ่ายทอดโรคแล้ว 2 เดือน แต่ต้นสับปะรดเริ่มแสดงอาการใบอ่อนนิ่ม สีเหลืองซีด และลู่ลง หลังจากถ่ายทอดเชื้อแล้ว 4 เดือน สำหรับไวรัส PMWaV-1 เริ่มตรวจพบแถบของดีเอ็นเอ หลังการถ่ายทอดโรคแล้ว 4 เดือน และแสดงอาการเหี่ยวไม่รุนแรงเท่ากับต้นที่มีไวรัส PMWaV-1 + PMWaV-2 อยู่ร่วมกัน และเปอร์เซ็นต์การถ่ายทอดโรคของไวรัสทั้ง 2 strain ค่อนข้างสูงประมาณ 80-100 % แสดงว่า เพลี้ยแป้งสีชมพูเป็นพาหะที่สำคัญในการถ่ายทอดโรคเหี่ยวสับปะรด สำหรับการถ่ายทอดโรคเหี่ยวโดยใช้เพลี้ยแป้งสีเทาเป็นพาหะพบว่า มีเปอร์เซ็นต์การถ่ายทอดโรคค่อนข้างต่ำประมาณ 20 % และสับปะรดไม่แสดงอาการของโรคหลังจากการถ่ายทอดไวรัสแล้ว 5 เดือน


ไฟล์แนบ
.pdf   2302_2555.pdf (ขนาด: 228.72 KB / ดาวน์โหลด: 615)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม