ศึกษาวิธีการรักษาสปอร์โรซีสต์ของค๊อคซิเดียนโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis
#1
ศึกษาวิธีการรักษาสปอร์โรซีสต์ของค๊อคซิเดียนโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อในการผลิตสารชีวินทรีย์กำจัดหนู
วิชาญ วรรธนะไกวัล, ปราสาททอง พรหมเกิด, ดาราพร รินทะรักษ์ และสมเกียรติ กล้าแข็ง
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         การผลิตสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ของโปรโตซัว Sarcocystis singaporensis ได้สารแขวนลอย โปรโตซัว S. singaporensis ที่มีความรุนแรงในการทำให้เกิดโรคในหนูสูงและแบ่งเพื่อการวิจัยการเก็บรักษา ซึ่งทำการแบ่งเป็น 3 การทดลองย่อยดังนี้ การทดลองย่อยที่ 1 โดยเก็บรักษาในน้ำดื่มสะอาด และในสารละลายเกลือ PBS 1% ในตู้เย็นที่อุณภูมิ 4 - 10 องศาเซลเซียส ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ คือ 1, 6, 12, 24 เดือน โดยที่สารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis ที่เก็บรักษาในน้ำดื่มสะอาดนาน 1, 6 และ 12 เดือน สามารถทำให้หนูท้องขาวชุดละ 4 ตัว ป่วยและตายทั้งหมด (100%) ในขณะที่เก็บรักษาในน้ำดื่มสะอาดนาน 24 เดือน พบหนูท้องขาวป่วยและตายประมาณ 50% ส่วนสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis ที่เก็บรักษาในสารละลายเกลือ PBS 1% นาน 1 และ 6 เดือน ป่วยและตายทั้งหมด และที่เก็บรักษาในตู้เย็นนาน 12 เดือน พบหนูท้องขาวป่วยและตายเพียง 3 ตัว จาก 4 ตัว คิดเป็น 75% ในขณะที่เก็บรักษาในสารละลายเกลือ PBS 1% นาน 24 เดือน พบหนูท้องขาวป่วยและตายประมาณ 50% เช่นเดียวกับการเก็บรักษาสปอร์โรซีสต์ในน้ำดื่มสะอาด

         ขณะที่เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis ที่เก็บรักษาในน้ำดื่มสะอาดและในสารละลายเกลือ PBS 1% ที่อุณภูมิ 4 - 10 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 1, 6, 12 เดือน ใกล้เคียงกันขณะที่ระยะเวลา 24 เดือน เปอร์เซนต์การรอดชีวิตของสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis ที่เก็บรักษาในสารละลายเกลือ PBS 1% เริ่มสูงกว่าอย่างเห็นได้ชัด

        สำหรับการทดลองย่อยที่ 2 ทำการเก็บรักษาสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis โดยวิธี Sugar flotation ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ คือ 1, 6, 12, 24 เดือน ตรวจสอบการมีชีวิตของเชื้อโปรโตซัว

         ระยะสปอร์โรซีสต์ โดยการใช้สีย้อม nucleic acid พบเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตประมาณ 96, 80 และ 77 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในส่วนของการทดลองย่อยที่ 3 ทำการเก็บรักษาสารแขวนลอยสปอร์โรซีสต์ S. singaporensis ในไนโตรเจนเหลว ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้เช่นกัน คือ 1, 6, 12, 24 เดือน สามารถทำให้หนูท้องขาวชุดละ 4 ตัว ป่วยและตายทั้งหมด (100%)


ไฟล์แนบ
.pdf   2390_2555.pdf (ขนาด: 238.48 KB / ดาวน์โหลด: 735)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม