โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินภาคเหนือตอนบน
#1
โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินภาคเหนือตอนบน
อุทัย นพคุณวงศ์, ประสงค์ มั่นสลุง, จำรอง ดำวเรือง, สุทัด ปินตำเสน, สุระพงษ์ รัตนโกศล, ณฐนน ฟูแสง, นัด ไชยมงคล, เกษม ทองขำว, สุริยนต์ ดีดเหล็ก และมนต์ชัย พันธุ์แก้ว
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

          ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำได้รับผลกระทบจากสาเหตุหลายประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประชากรในชุมชนเพิ่มขึ้นมีการใช้ประโยชน์จากป่าเกินความจำเป็น โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน เกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ที่ทรงห่วงใยสภาพป่าต้นน้ำลำธารและทรงมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ ป่า น้ำ และดิน และให้ราษฎรสามารถอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตร รับผิดชอบพื้นที่โครงการรักษ์น้ำฯ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน ได้แก่ ลุ่มน้ำปิงน้อย ลุ่มน้ำแม่หาด ลุ่มน้ำค้า ลุ่มน้ำขุนน่าน ลุ่มน้ำปาย ลุ่มน้ำของ ลุ่มน้ำแม่สะงา ลุ่มน้ำแม่สะมาด โดยมีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัด ศูนย์วิจัยพืช ศูนย์พัฒนาและบริการตามพระราชดำริ สถานีพัฒนาเกษตรที่สูง และแปลงต้นแบบเป็นแกนกลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตพืช 5 ชนิด ได้แก่ กาแฟ มะคาเดเมีย ชา พลับ และกล้วยไม้ป่าเอื้องแซะ กาแฟ พบว่า พันธุ์เชียงใหม่ 80 สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตร่วมกับไม้ป่าธรรมชาติในเชิงระบบวนเกษตร มีการสร้างหมู่บ้านต้นแบบการผลิตกาแฟ การตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟที่เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ตั้งแต่การเพาะกล้า การย้ายกล้าชำถุง การดูแลรักษาในเรือนเพาะชำ การนำต้นกล้าไปปลูกได้ในสวนของสมาชิก การจัดทำแปลงต้นแบบเรียนรู้การผลิตกาแฟผ่านสถานีเกษตรที่สูงสู่ชุมชน การฝึกอบรมระบบการจัดการคุณภาพ การเรียนรู้การผลิตกล้ากาแฟพันธุ์ดี ปัจจุบันกาแฟเริ่มให้ผลผลิตและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรแล้ว มะคาเดเมีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จเยี่ยมสถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวางพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงปลูกต้นมะคาเดเมียพันธุ์ 741 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงปลูกพันธุ์ 344 กรมวิชาการเกษตรมีพันธุ์แนะจำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ เชียงใหม่ 400 เชียงใหม่ 700 เชียงใหม่ 1000 ปี 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย ตามพระดำริ ทรงปลูกมะคาเดเมียพันธุ์ 344 และในปัจจุบันได้กระจายสู่พื้นที่โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดินที่ลุ่มน้ำของจำนวน 664 ต้น ลุ่มน้ำแม่สะงาจำนวน 225 ต้น แปลงเรียนรู้ในศูนย์บริการและพัฒนาจำนวน 996 ต้น พื้นที่ลุ่มน้ำค้า จำนวน 1000 ต้น พื้นที่ลุ่มน้ำปิงน้อยจำนวน 100 ต้น ปัจจุบันพัฒนาเป็นแปลงเรียนรู้และการตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะคาเดเมีย ชา ได้สร้างแปลงต้นแบบการผลิตชาที่จังหวัดน่าน โดยนำพันธุ์อู่หลงเบอร์ 12 ไปสร้างแปลงต้นแบบที่สถานีเกษตรที่สูงสะจุก-สะเกี้ยง และพื้นที่เกษตรกรต้นแบบในชุมชนลุ่มน้ำขุนน่านและแปรรูปชา ณ โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนา พลับ ได้ดำเนินการสร้างแปลงต้นแบบการผลิตพลับ พื้นที่ลุ่มน้ำปิงน้อยจำนวน 750 ต้น สร้างการมีส่วนร่วมโดยการขยายผลสู่ชุมชนจ้ำนวน 3 หมู่บ้าน จำนวน 5625 ต้น มีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตพลับบนพื้นที่สูง ตั้งแต่การเตรียมกิ่งพันธุ์ การเปลี่ยนยอดพันธุ์ดี การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวผลผลิต กล้วยไม้ป่าเอื้องแซะ มีการด้าเนินงานสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ณ ศูนย์บริการและพัฒนาที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยสำรวจ รวบรวม ศึกษา คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ขยายพันธุ์โดยเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ปล่อยลูกกล้วยไม้ป่าเอื้องแซะจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสู่ป่าที่ศูนย์บริการและพัฒนาเกษตรที่สูงปางตองตามพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีการสร้างตัวชี้วัดเรื่อง ความสมบูรณ์ของป่า โดยการมีส่วนรวมของคนในชุมชนลุ่มน้ำบนที่สูง


ไฟล์แนบ
.pdf   2249_2555.pdf (ขนาด: 1.47 MB / ดาวน์โหลด: 1,897)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม