การใช้สารกำจัดวัชพืชกำจัดวัชพืชที่ขึ้นใต้โต๊ะกล้วยไม้
#1
การใช้สารกำจัดวัชพืชกำจัดวัชพืชที่ขึ้นใต้โต๊ะกล้วยไม้
เสริมศิริ คงแสงดาว, ภัทร์พิชชา รุจิระพงษ์ชัย และกลอยใจ คงเจี้ยง
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ สำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6

          การใช้สารกำจัดวัชพืชเพื่อกำจัดวัชพืชในกล้วยไม้สกุลหวาย ทำการทดลองที่สวนกล้วยไม้ จังหวัดนครปฐม และสุพรรณบุรี ดำเนินการตุลาคม 2553 - กันยายน 2555 วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 3 ซ้ำ เพื่อกำจัดวัชพืชใต้โต๊ะ ทดลองในพื้นที่ที่มีคาดามีน (Cadamine hirsuta L.) หญ้ากาบหอย (Lindernia crustacean (L.) F. Muell) หญ้าตีนนกเล็ก Digitaria ciliaris (Retz.) Koeler) และหญ้าดอกขาวเล็ก (Leptochloa panicea (Retz.) Ohwi) ผลการทดลอง สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังวัชพืชงอกที่กำจัดได้ดี คือ glyphosate, glufosinate, trifloxysulfuron และ trifloxysulfuron + ametryn อัตรา กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ส่วนสารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอกที่มีผลทั้งกำจัดวัชพืชต้นเล็กและควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชไดัดี flumioxazin, oxyfluorfen, oxadiazon อัตรา กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ และที่มีผลควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช pendimethalin, dimethenamid, acetochlor, alachlor และ diuron อัตรา กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ เพื่อกำจัดวัชพืชบนวัสดุปลูก 1) การพ่นรอบโคนกล้วยไม้ต้นโต เป็นพิษต้นกล้วยไม้ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง flumioxazin, oxyfluorfen, oxadiazon, pendimethalin, dimethenamid, acetochlor, alachlor และ diuron อัตรา กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ แต่ไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นกล้วยไม้ 2) เมื่อใช้พ่นทับต้นกล้วยไม้ต้นโต เฉพาะใบที่ปรากฏขณะพ่นมีอาการเหลืองเล็กน้อย ใบใหม่ปกติ oxyfluorfen อัตรา กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ต้นกล้วยไม้โตที่สุด รองลงมาคือ dimethenamid, S-metolachlor, acetochlor และต้นกล้วยไม้มีการเจริญเติบโตลดลงเล็กน้อยเมื่อพ่นด้วย flumioxazin และ oxadiazon สามารถลดจำนวนต้นดาดตะกั่ว (Hemigraphis reptans (G. Forst.) T. Anderson) ที่งอกจากเมล็ดได้ และมีผลทำให้ตอดาดตะกั่วงอกช้าหรือแคระแกรน 3) เมื่อใช้พ่นทับกล้วยไม้ต้นเล็ก oxyfluorfen, และอัตรา กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ เป็นพิษปานกลางต่อกล้วยไม้ต้นเล็ก ทำให้ใบเหลืองร่วง ใบใหม่ปกติ เมื่อใช้ acetochlor, dimethenamid, S-metolachlor และ pendimethalin อัตรา กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ เป็นพิษเล็กน้อยต่อกล้วยไม้ ทำให้บางต้นใบเหลือง ใบใหม่ปกติ 4) การพ่นรอบโคนต้นพบว่า กล้วยไม้เป็นพิษเล็กน้อย flumioxazin, oxyfluorfen, oxadiazon, ametryn และ diuron โดยใช้ถังโยกสะพายหลังพ่นรอบโคนต้นกล้วยไม้ กำจัดต้นขมหินใบน้อยได้ดีกำจัดต้นขมหินใบน้อย (Pilea microphylla (L.) Liebm.) ได้ดี ยังไม่มีต้นงอกใหม่ ส่วน 2,4-D และ glyphosate อัตรา กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ กำจัดได้ดีแต่มีต้นงอกใหม่จำนวนมาก


ไฟล์แนบ
.pdf   2308_2555.pdf (ขนาด: 717.91 KB / ดาวน์โหลด: 549)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม