อนุกรมวิธานและชีววิทยาเพลี้ยแป้ง Pseudococcus jackbeardsleyi Gimpel & Miller
#1
อนุกรมวิธานและชีววิทยาเพลี้ยแป้ง Pseudococcus jackbeardsleyi Gimpel & Miller
ชลิดา อุณหวุฒิ, ชมัยพร บัวมาศ, ลักขณา บำรุงศรี และสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          การศึกษาอนุกรมวิธาน และชีววิทยาของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเทา (Pseudococcus jackbeardsleyi Gimpel & Miller) ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2555 เพื่อทราบลักษณะความแตกต่างทางด้านอนุกรมวิธานในแต่ละระยะการเจริญเติบโต ชีววิทยา รวมทั้งวิธีการและพืชอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงเพลี้ยแป้งโดยเก็บรวบรวมตัวอย่างเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเทา จากแหล่งปลูกพืชต่างๆ นำตัวอย่างที่รวบรวมได้มาเลี้ยงบนฟักทอง และทำสไลด์ถาวร ณ ห้องปฏิบัติการ กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช พบว่าเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีเทา เลี้ยงบนฟักทอง พบระยะตัวอ่อนเพศเมีย 3 ระยะ ลอกคราบ จำนวน 3 ครั้ง ตัวเต็มวัยวางไข่ จำนวน 344 - 495 ฟอง ระยะไข่ประมาณ 7 - 10 วัน หลังจากนั้นจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อนวัยที่ 1 (crawler) ขนาดค่อนข้างเล็ก ลำตัวยาว 0.4-1.2 มิลลิเมตร ใช้เวลา 3 - 8 วัน ตัวอ่อนวัยที่ 2 ลำตัวยาว 1.0 - 1.7 มิลลิเมตร ใช้เวลา 7 - 9 วัน ตัวอ่อนวัยที่ 3 ลำตัวยาว 2.0 - 2.8 มิลลิเมตร ใช้เวลา 6 - 15 วัน หลังจากนั้นจะลอกคราบครั้งสุดท้ายเป็นตัวเต็มวัย ลำตัวยาว 3.0 - 3.3 มิลลิเมตร ใช้เวลา 11 - 15 วัน รวมตลอดอายุขัย 31 - 43 วัน


ไฟล์แนบ
.pdf   2497_2555.pdf (ขนาด: 735.58 KB / ดาวน์โหลด: 921)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม